12. การสร้างแบบวัดทักษะการว่ายน้ำท่าวัดวาและท่ากรรเชียงสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย การกีฬาแห่งชาติ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

ศักดา แก้วพิลา
นวลพรรณ ไชยมา
ปทุมพร ศรีอิสาณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดทักษะการว่ายน้ำ ท่าวัดวาและท่ากรรเชียง และสร้างเกณฑ์ปกติของแบบวัดทักษะการว่ายน้ำท่าวัดวาและท่ากรรเชียงสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำนวน 30 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสร้างเกณฑ์ปกติ คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 226 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดทักษะว่ายน้ำท่าวัดวาและแบบวัดทักษะท่ากรรเชียง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และคะแนนมาตรฐานที โดยนำข้อมูลที่ได้มาสร้างคู่มือในการใช้แบบวัด ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


ผลการสร้างแบบวัดทักษะการว่ายน้ำท่าวัดวาและท่ากรรเชียงแต่ละท่าแบ่งออกเป็น 4 ทักษะย่อย ได้แก่ ทักษะการใช้ขา ทักษะการใช้แขน ทักษะการหายใจ และทักษะความสัมพันธ์ในการว่าย โดยมีท่าทางการปฏิบัติทักษะละ 3 ข้อ เป็นแบบเกณฑ์การให้คะแนน จำนวน 4 ระดับ การตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดทักษะมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาทุกทักษะอยู่ในระดับดีมาก มีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .734 - .877 อยู่ในระดับสูง–สูงมาก และมีค่าความเป็นปรนัยของเกณฑ์การให้คะแนนระหว่าง .748 - .850 อยู่ในระดับสูง–สูงมาก และผลการสร้างเกณฑ์ปกติของแบบวัดทักษะการว่ายน้ำท่าวัดวาและท่ากรรเชียงสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งเกณฑ์เป็น 5 ระดับ คือ ดีมาก ดี  ปานกลาง อ่อน และอ่อนมาก เกณฑ์ปกติของทักษะการว่ายน้ำท่าวัดวาอยู่ในระดับดีมากมีคะแนนที เท่ากับ 68 และสูงกว่า ระดับดีมีคะแนนที เท่ากับ 57–67 คะแนน ระดับปานกลางมีคะแนนที เท่ากับ 46–56 คะแนน ระดับอ่อนมีคะแนนที เท่ากับ 36-45 คะแนน และระดับอ่อนมากมีคะแนนที เท่ากับ 35 คะแนนและต่ำกว่า และเกณฑ์ปกติของทักษะการว่ายน้ำท่ากรรเชียงอยู่ในระดับดีมากมีคะแนนที เท่ากับ 65 และสูงกว่า ระดับดีมีคะแนนที เท่ากับ 53-64 คะแนน ระดับปานกลางมีคะแนนที เท่ากับ 41-52 คะแนน ระดับอ่อนมีคะแนนที เท่ากับ 28-40 คะแนน และระดับอ่อนมากมีคะแนนทีเท่ากับ 27 คะแนนและต่ำกว่า           

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2564, 5 มีนาคม). กรมควบคุมโรคจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำปี 2564และเชิดชูเกียรติทีมผู้ก่อการดี (MERIT MAKER) บนแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นครั้งแรกเพื่อรองรับวิถีใหม่ (New Normal). สืบค้นจาก https://bit.ly/3yNyPjK

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2547) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2542). สถิติวิจัย 1. กรุงเทพฯ: เค. ยู. บุ๊คเซนเตอร์.

มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. (2563). คู่มือการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ หลักสูตรปรับปรุง 2563. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ.

ยศวดี โสมภีร์. (2558). การสร้างแบบประเมินค่าทักษะว่ายน้ำท่าคอว์ล สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.

วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2561). รวมบทความเกี่ยวกับปรัชญา หลักการ วิธีสอน และการวัดเพื่อประเมินผลทางการพลศึกษา. (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิริยา บุญชัย. (2529). การทดสอบและการวัดผลทางพลศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2557). แนวการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

สุวรรณา ไตรยราช. (2561). การสร้างแบบประเมินค่าทักษะว่ายน้ำท่ากบ สำหรับนักศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุวัฒน์ กลิ่นเกสร. (2559). กีฬาว่ายน้ำ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.