แนวทางการจัดกิจกรรมนันทนาการในโรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ศราวุธ ดิษฐ์สุข
ปทัญทิญา สิงห์คราม

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง แนวทางการจัดกิจกรรมนันทนาการในโรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการในกิจกรรมนันทนาการของนักเรียนโรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา ตามตัวแปรด้านเพศ และระดับชั้นเรียน 2) เพื่อเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมนันทนาการในโรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ได้แก่ กลุ่มนักเรียนประถมศึกษา และมัธยมศึกษาของโรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา 400 คน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น การสุ่มแบบหลายขั้นตอน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้ช่วยผู้บริหาร หัวหน้าระดับชั้นประถมศึกษา หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 15 คน โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติพื้นฐานที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ เบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการกิจกรรมนันทนาการของนักเรียนโรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา โดยรวมอยู่ในระดับมาก( gif.latex?\bar{x} = 3.84) 2) ทดสอบความแตกต่างความต้องการพบว่า ตัวแปรเพศมีความแตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กิจกรรมนันทนาการที่แตกต่าง ได้แก่ ศิลปหัตถกรรม เกมกีฬาและการละเล่นพื้นบ้าน เต้นรำ ท่องเที่ยวทัศนศึกษา ละคร งานอดิเรก และการกลางแจ้ง/นอกเมือง ทดสอบด้านระดับชั้นเรียนพบว่าไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการจัดกิจกรรมนันทนาการในโรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา พบว่าด้านปัจจัยนำเข้า ด้านบุคลากร ผู้บริหาร ครู มีความรู้ ความสามารถ ในด้านจัดกิจกรรมนันทนาการเป็นอย่างดี นักเรียนมีความต้องการกิจกรรมนันทนาการในระดับมาก จึงต้องกำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการ กิจกรรมนันทนาการที่ตรงกับความต้องการและความถนัดของผู้เรียน ด้านกระบวนการ การจัดสรรงบประมาณในการจัดกิจกรรมนันทนาการมีเพียงพอต่อความต้องการ และด้านวัสดุอุปกรณ์สถานที่ ในการจัดกิจกรรมนันทนาการได้เพียงพอต่อความต้องการ และด้านผลผลิต การบริหารจัดการโครงการต้องตรงต่อความต้องการของนักเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ayhan, C. (2018). Investigation of Constraints that Occur during Participation in Leisure Activities by High School Students: A Sample of Turkey. Therapeutic Recreation Journal, 1(4), 239 – 257. Retrieved from https://doi.org/10.18666/TRJ-2017-V51-I4-7812

Department of Physical Education. (2020). Guide to organizing recreational activities. Children's play. Bangkok: S.Offset Graphic Design.

Panya Sakkaew. (2013). Needs for participation in recreational activities of Mathayom 6 students in southern schools. Under the Office of the Basic Education Commission, academic year 2013. Krabi: Institute of Physical Education.

Paramee Sribunthip. (2017). Development of an integrated learning model to enhance systems thinking. For Mathayom 1 students at the State University Demonstration School. Bangkok: Srinakharinwirot University.

Sawang Boriboon School registration work. (2022). Registration work. Retrieved from https://www.sb-school.ac.th.

Sombat Karnjanakit. (2014). History and tourism industry. (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.

Suthiphot Techadhammo. (2018). Managing the temple to be a community center according to Policy vision: Thailand 4.0 in Suan Phueng District Ratchaburi Province. Journal of buddhistic sociology, 6(4), 109-120.

Thawat Termyuan. (2019). Factors affecting participation in recreational activities of students at the Patanasilpa Graduate Institute. Patanasilpa Academic Journal, 2(2), 367 - 377.

Thaweesak Sawangmek. (2007). A Study of the Needs of Recreational Activities for the Elderly in the Area. Bangkok: Chulalongkorn University.