6. การปฏิบัติงานผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กิตติศักดิ์ กาญจนครุฑ
สุขุม เฉลยทรัพย์
ศิโรจน์ ผลพันธิน
สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงานผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ  ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ทั้งหมดจำนวน 37 โรงเรียน โดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่างใช้หน่วยการวิเคราะห์ (unit of analysis)
ให้เหมาะสมกับตัวแปรที่ศึกษา 19 ตัวแปรตามกรอบแนวคิดการวิจัย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ตำแหน่งผู้อำนวยการ และรองผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร จากจำนวนประชากร 37 โรงเรียน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนละ 8 คน ดังนั้น ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 296 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครโดยนำแบบสอบถามหาค่าความสอดคล้อง IOC (index of Item Objective Consistency)
โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และค่าความเชื่อมั่น ของเครื่องมือโดยนำแบบสอบถาม จำนวน 30 ชุดไปทดลองใช้กับกลุ่มที่มีลักษณะคล้ายกับกลุ่มตัวอย่าง และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานเป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจด้วยวิธีการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ในการวิเคราะห์ด้วยวิธีสกัดปัจจัย แบบการวิเคราะห์องค์ประกอบหลักเพื่อวิเคราะห์ตัวชี้วัดผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล และเพื่อวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity)


ผลการวิจัย มีดังนี้ 1. ความคิดเห็นต่อผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ความคิดเห็นต่อวิสัยทัศน์ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 3. ความคิดเห็นต่อกำหนดเป้าหมาย อยู่ในระดับมากที่สุด  4.ความคิดเห็นต่อผู้นำด้านวิชาการ อยู่ในระดับมากที่สุด 5.ความคิดเห็นต่อความตั้งใจปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมากที่สุด 6.ความคิดเห็นต่อการแก้ไขปัญหา อยู่ในระดับมากที่สุด 7. ความคิดเห็นต่อสร้างบรรยากาศเรียนรู้ร่วมกันในการทำงานร่วมกับผู้อื่น อยู่ในระดับมากที่สุด 8. ความคิดเห็นต่อการควบคุมอารมณ์ อยู่ในระดับมากที่สุด 9.ความคิดเห็นต่อบุคลิกภาพท่าทางความน่าเชื่อถือเป็นตัวอย่างที่ดี อยู่ในระดับมากที่สุด 10. ความคิดเห็นต่อครองตน ครองคน ครองงาน อยู่ในระดับมากที่สุด 11. ความคิดเห็นต่อแสวงหาความร่วมมือองค์กรภายนอก อยู่ในระดับมากที่สุด 12. ความคิดเห็นต่อความสามารถในการบริหารแบบมืออาชีพบริหารการเปลี่ยนแปลง อยู่ในระดับมากที่สุด 13. ความคิดเห็นต่อการใช้เทคโนโลยีและข้อมูลสารสนเทศ อยู่ในระดับมากที่สุด 14. ความคิดเห็นต่อการสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร อยู่ในระดับมากที่สุด 15. ความคิดเห็นต่อทำงานเป็นทีม อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลชา จงเจริญ. (2562). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมาณฑล. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 12(1), 189-210.

กนกอร สมปราชญ์. (2556). ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. ขอนแก่น : คลังนานวิทยา.

การดา จันทร์แย้ม. (2546). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร : ธนธัชการพิมพ์.

ชาติชาย คงเพ็ชรดิษฐ์ และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). การเปลี่ยนแปลง: บทบาทของภาวะผู้นำและการสื่อสารในองค์การ. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(1), 895-919.

เบญจวรรณ เพชรนิล. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพของผู้นำกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกรณีศึกษา: บริษัท ทิสเซิ่นครุปแมททีเรียลส์ (ไทยแลนด์) จำกัด. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(1-2), 71-83.

ธรรมนิติ. (2563). EQ ทักษะที่ผู้นำต้องมี : CAI. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2566. จาก EQ ทักษะที่ผู้นำต้องมี (dst.co.th)

ปาจรีย์ นาคะประทีป, สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์ และ จีระพันธุ์ พูลพัฒน์. (2566). การพัฒนารูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโครงการ English Program โรงเรียนเอกชน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 9(2), 100-113.

พระครูสถิตธรรมาลังการ.(2564). ภาวะผู้นำของสังฆาธิการในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารภาวนาสารปริทัศน์, 1(1), 97-108.

พระมหาสมบูรณ์ สุธมโม. (2554). คุณธรรมจริยธรรมกับผู้บริหารสถานศึกษา. สารนิพนธ์มหาบัณฑิต ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พรรณฑิตา ทัศนิยม และชนัดดา เพ็ชรประยูร. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวในการทำงานและความตั้งใจคงอยู่ในงานของพนักงานระดับหัวหน้างานในธุรกิจบรรจุภัณฑ์. วารสารจิตวิทยา, 19(1), 19-27.

ไพโรจน์ ญัตติอัครวงศ์. (2562). การพัฒนาความฉลาดทางอามณ์กับผู้บริหารยุคใหม่. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 7(2), 12-26.

รุ่งรัตน์ พลชัย. (2563). ภาวะผู้นำกับการบริหารในยุคดิจิทัล. วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน, 1(3), 53-62.

ริญญาภัทร์ สุภาศิริธนานนท์ และศักดิ์พันธ์ ตันวิมลรัตน์. (2563). บทบาผู้บริหารกับบรรยากาศองค์กรของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, 13(2), 208-227.

ยุพา พรมแย้ม. (2562). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอบางบัวทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วรวงษ์ เอี่ยมสำอาง. (2557). การศึกษารูปแบบการติดต่อสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในเขตกรุงเทพมหานคร. ค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2554). คู่มือเทคนิคและวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่ตามแนวทางการบริหารกิจการ บานเมืองที่ดี: การประกาศขั้นตอนแผนภูมิการปฏิบัติงานและกำหนด ระยะเวลา แลวเสร็จการกระจายอำนาจการตัดสินใจ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.).

เอ็นเทรนนิ่ง. (2561). ทักษะการเป็นหัวหน้างานคุณภาพ : CAI. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2566. จาก ทักษะการเป็นหัวหน้างานคุณภาพ - Entraining.net