การพัฒนารูปแบบผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กิตติศักดิ์ กาญจนครุฑ
สุขุม เฉลยทรัพย์
ศิโรจน์ ผลพันธิน
สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การพัฒนารูปแบบผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครจำนวน 296 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครที่ได้รับรางวัลในการบริหารสถานศึกษา เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย การประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ และด้านความเป็นไปได้ของรูปแบบแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ คือ การหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร มีองค์ประกอบหลักที่สำคัญ 6 องค์ประกอบ ดังนี้ (1) วิสัยทัศน์ ได้แก่ วิสัยทัศน์ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กำหนดเป้าหมาย และผู้นำด้านวิชาการ (2) มนุษย์สัมพันธ์ ได้แก่ ความตั้งใจปฏิบัติงาน และการแก้ไขปัญหา
(3) การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ การสร้างบรรยากาศเรียนรู้ร่วมกันในการทำงานร่วมกับผู้อื่น (4) บุคลิกภาพ ได้แก่ การควบคุมอารมณ์ และบุคลิกภาพท่าทางความน่าเชื่อถือเป็นตัวอย่างที่ดี (5) คุณธรรมจริยธรรม ได้แก่ การครองตน ครองคน ครองงาน และ
(6) การบริหารการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ แสวงหาความร่วมมือองค์กรภายนอก ความสามารถในการบริหารแบบมืออาชีพบริหารการเปลี่ยนแปลง การใช้เทคโนโลยีและข้อมูลสารสนเทศ การสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร และการทำงานเป็นทีม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธีระ รุญเจริญ. (2563). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) เพื่อปฏิรูปรอบสองและประเมินภายนอกรอบสาม.กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2556). ความเป็นผู้นำ. กรุงเทพฯ.

Fiedler, F.E. (1967). A theory of leadership effectiveness. New York: McGraw-Hill.

Halpin, A. W., & Croft, D. B. (1966). The Organizational Climate of School. Chicago: University of Chicago.

Leithwood, K. (2006). Educational leadership: A review of research. Philadelphia, PA: Temple University Center for Research in Human Development and Education, Laboratory for Student Success.

Murphy, J. (1990). Principal instructional leadership. Advances in Educational Administration, 1 (B: Changing perspectives on the school), 163-2000.

Russell, R. F. and Stone, G.A. (2002). “A Review of Servant Leadership Attributes : Developing Apractical Model,” Leadership & Organization Development Journal, 28(3), 145 - 157.