การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์กับการมูเตลูในประเทศไทย

Main Article Content

พรรณปพร จันทร์ฉาย
อนามัย ดำเนตร

บทคัดย่อ

การมูเตลูเป็นการท่องเที่ยวที่เกิดจากความเชื่อและความศรัทธาโดยเกิดขึ้นในช่วงหลังโดยเชื่อว่าหากไปกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือไปมูเตลูแล้วจะได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการ ในขณะที่การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์เกิดขึ้นควบคู่กับความเป็นมาของชาติไทยเนื่องจากชาติไทยมีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน ด้านกลยุทธ์การตลาดมูลค่าการตลาดธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับการมูเตลูถือได้ว่าทำรายได้อย่างมากและรวดเร็วแต่ข้อเสียคือเมื่อหมดความเชื่อหรือความศรัทธาในสิ่งนั้นความต้องการของนักท่องเที่ยวหรือผู้บริโภคก็จะลดลงในทันที แต่การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางไปเพื่อศึกษาหาความรู้เยี่ยมชมความงามของสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมลักษณะมูลค่าทางการตลาดในการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์อาจจะไม่มากแต่การท่องเที่ยวรูปแบบนี้มีความยั่งยืนมากกว่า ข้อแนะนำในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวด้านพื้นที่สามารถทำควบคู่กันได้เนื่องจากทั้งการท่องเที่ยวแบบมูเตลูและการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์อาจะมีวัดหรือเทวสถานเป็นสถานที่ในการเข้าไปทำบุญหรือเยี่ยมชมหากใส่ความเชื่อในท้องถิ่นเป็นจุดขายก็อาจะเป็นการส่งเสริมมูลค่าให้กับท้องถิ่น ทั้งนี้การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวแบบมูเตลูหน่วยงานภาครัฐควรส่งเสริมอย่างจริงจังควรมุ่งเน้นจุดขายด้านความเชื่อความศรัทธาที่สอดคล้องกับสถานที่เพื่อส่งเสริมตลาดทั้งในและต่างประเทศ ในขณะที่การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถพัฒนาจากสิ่งที่มีอยู่ให้ดีมากยิ่งขึ้นแก่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ เช่น การจัดทำโฆษณาสถานที่ผ่านสื่อต่าง ๆ การพัฒนาการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวในลำดับต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กมลทิพย์ ชิวชาวนา. (2561). การศึกษาถึงอิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการ (Service Marketing Mix 7P’s) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารครัววาสนาซีฟู้ดของผู้บริโภค. การค้นคว้าอิสระเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

กรมศิลปากร. (2564). รายงานข้อมูลสถิติการให้บริการผู้เข้าใช้เข่ชมแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวของกรศิลปากร ประจำปีงบประมาณ 2564. สืบค้นวันที่ 11 ตุลาคม 2566 จาก https://www.finearts.go.th/uploads/tinymce/source/1/01main-ITA/64/o15.pdf.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). Covid-19 ต่อผลกระทบการท่องเที่ยวในประเทศไทย. สืบค้นวันที่ 11 ตุลาคม 2566 จาก https://www.mots.go.th/download/TourismEconomicReport/41TourismEconomicVol4.pdf.

ชมภูนุช หุ่นนาค. (2559). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 27(1), 39-46.

ฐานเศรษฐกิจ. (2566).ท่องเที่ยวมูเตลูโตต่อเนื่อง คาด 10 ปี พุ่งแตะ1.4 ล้านล้าน. สืบค้นวันที่ 20 ตุลาคม 2566 จาก https://www.thansettakij.com/business/economy/566036

นัยเนตร ขาวงาม. (2565). แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาพัฒนาการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

บริษัท แบรนด์เอจ มาร์เก็ตติ้ง รีซอร์สเซส จำกัด. (2566). Faith Marketing ความเชื่อ ศรัทธา และการตลาด. สืบค้าเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566 จาก https://www.brandage.com/article/24741/Faith-Marketing.

ประเมศฐ์ พิชญ์พันธ์เดชา. (2562). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของเกาะฮ่องกง ที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวชาวไทย. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรรณปพร จันทร์ฉาย. (2566).พฤติกรรมและทัศนคติด้านความเชื่อในการเช่าซื้อเครื่องรางประเภทกําไลหินมงคลของกลุ่มผู้หญิงในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 9(2), 196-204.

พัทธมน ภมรานนท. (2562).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การค้นคว้าอิสระเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ภูริณัฐ แก้วสิยา. (2566). ประเภท ซอฟต์ พาวเวอร์(5F) ที่ใช้สื่อสารส่งผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, 2(2), 54-82.

ฤทัยรัตน์ เจษฎากุลทวี. (2562). รายงานการวิจัยเรื่องกลยุทธ์การบริหารเชิงระบบอย่างมีประสิทธิภาพในการบริการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของหน่วยคลังและพัสดุในทรรศนะของบุคลากรในสังกัดสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ สังกัดกองคลัง สังกัดคณะ/หน่วยงานในสังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น. สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี พ.ศ. 2562.

ว่าที่ร้อยตรีหญิงสุนิษา กลิ่นขจร. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยววิถีถิ่น วิถีไทยเพื่อสร้างอัตลักษณ์ใหม่ของเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองร้อยเกาะ. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาพัฒนศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมจิตร์ อินทมโน และปาริชาติ วิสุทธิสมาจาร. (2557). การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ : กรณีศึกษาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. การประชุมวิชาการการพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ครั้งที่ 4 ประจำปี 2557 “Rethink : Social Development for Sustainability in ASEAN Community” 11-13 มิถุนายน 2557.

ThaiPBS. (2566). Soft Power สาย "มูเตลู" ดันเศรษฐกิจไทยกระฉูด 10,800 ล้าน. สืบค้นเมื่อ วันที่ 20 ตุลาคม 2566 จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/330701