ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อฉลากสินค้ารูปแบบสติกเกอร์ติดแก้วกาแฟของผู้ประกอบการร้านกาแฟรายย่อยในประเทศไทย

Main Article Content

ปริตภา รุ่งเรืองกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1.) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อฉลากสินค้ารูปแบบสติ๊กเกอร์ติดแก้วกาแฟของผู้ประกอบการร้านกาแฟรายย่อย ในประเทศไทย 2.) เพื่อศึกษาระดับส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อฉลากสินค้ารูปแบบสติ๊กเกอร์ติดแก้วกาแฟของผู้ประกอบการร้านกาแฟรายย่อย ในประเทศไทย 3.) เพื่อศึกษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์และส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อฉลากสินค้ารูปแบบสติ๊กเกอร์ติดแก้วกาแฟของผู้ประกอบการร้านกาแฟรายย่อยในประเทศไทย ประชากรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ประกอบการร้านกาแฟรายย่อยในประเทศไทย จำนวน 356 ร้าน (ข้อมูลรายงานตลาดอาหารในประเทศไทย ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหารสถาบันอาหาร, 2562) เครื่องมือการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม (Questionnaire)  เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูล จากผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 400 คน ผลการวิจัย  พบว่า ส่วนใหญ่มีอายุ 31-40 จำนวน 191 คน จากการศึกษาผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับความสำคัญเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อฉลากสินค้ารูปแบบสติ๊กเกอร์ติดแก้วกาแฟของผู้ประกอบการร้านกาแฟรายย่อย ในประเทศไทย โดย พบว่า โดยรวม ส่วนประสมทางการตลาดด้านราคา ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อในระดับมาก ส่วนประสมทางการตลาด ด้านราคา พบว่า ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อฉลากสินค้ารูปแบบสติ๊กเกอร์ติดแก้วกาแฟของผู้ประกอบการร้านกาแฟรายย่อย ในประเทศไทย ในระดับมาก คือ ราคามีความเหมาะสม เมื่อเทียบกับคุณภาพของสินค้า ส่วนประสมทางการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย พบว่า ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อฉลากสินค้ารูปแบบสติ๊กเกอร์ติดแก้วกาแฟของผู้ประกอบการร้านกาแฟรายย่อยในประเทศไทย ในระดับมาก ส่วนประสมทางการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย พบว่า ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อฉลากสินค้ารูปแบบสติ๊กเกอร์ติดแก้วกาแฟของผู้ประกอบการร้านกาแฟรายย่อย ในประเทศไทย ในระดับมาก คือ มีสิทธิพิเศษให้แก่ลูกค้าประจำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ คุ้มโภคา. (2559). การแบ่งกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้สติกเกอร์ไลน์ โดยใช้ปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้สติกเกอร์ไลน์ และความต้องการส่วนประสมทางการตลาดบริการร้านคาเฟ่ที่มีรูปแบบร้าน เป็นตัวการ์ตูนสติกเกอร์ไลน์ (Theme Café using Cartoon Character Line Sticker) ในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการตลาด.

ชนาธิป พรศิริปิยกุล. (2560). การออกแบบและการผลิตสติกเกอร์กระดาษ กรณีศึกษา บริษัท เอฟโวลูชั่น อาร์ต จำกัด. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น.

ชาตรี บัวคลี่. (2561). การออกแบบและพัฒนาฉลากสินค้าด้วยกระบวนการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน. วารสารวิจิตรศิลป์, 9(2).

ณงลักษณ์ จารุวัฒน์. (2560). การตลาด 4.0 (MARKETING 4.0). กรุงเทพฯ: เนชันบุ๊คส์.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

มนตรี ศรีวงษ์. (2561). ไทยเฟรนไซส์เซ็นเตอร์ 2561. 10 ข้อต้องรู้ ทำไมเปิดร้านกาแฟแล้วเจ๊ง!. ค้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2566, จาก https://www.thaifranchisecenter.com/document/show.php?docuID=3384

เมษญา เกยีรตตินานุสนธิ์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพของคนวัยทำงานในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง จังหวัดสงขลา.

รายงานตลาดอาหารในประเทศไทย ธุรกิจร้านกาแฟในประเทศไทย. (2562). ค้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2566, จาก https://fic.nfi.or.th/upload/market_overview/Rep_Cafe_15.01.62.pdf

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้สนามกอล์ฟของรัฐและเอกชน กรณีศึกษา: สนามกอล์ฟราชนาวีพูลตาหลวงและสนาม กอล์ฟฟีนิกซ์ กอล์ฟ แอนด์ คันทรี คลับ.ค้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2566, จาก http://publicandprivategolfcourses.blogspot.com/2012/12/blog-post_3290.html

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สถาบันชาและกาแฟ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. ค้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2566, จาก https://teacoffee.mfu.ac.th/tc-tea-coffeeknowledge/tc-coffee/tc-coffeehistory.html

สุนิษฐา เศรษฐีธร. (2562). รายงานตลาดอาหารในประเทศไทย มกราคม 2562 Thailand Food Market Report. ออนไลน์.

สุนิษฐา เศรษฐีธร. (2562). รายงานตลาดอาหารในประเทศไทย มกราคม 2562 ธุรกิจกาแฟในประเทศไทย. ค้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2566, จาก https://fic.nfi.or.th/upload/market_overview/Rep_Cafe_15.01.62.pdf

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2543). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยสยาม.

Kotler, P. (2011). Principles of Marketing. 14th ed. Pearson.

Schiffman, L.G., & Wisenblit, J. L. (2015). Customer Behavior. 11th ed. NJ: Pearson. Prentice Hall.

Kotler, P. & Armstrong, G. (2018). Principles of marketing. 17th ed. New Jersey: Prentice Hall.