ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1

Main Article Content

อารยา ยิ่งยอด
ปัญญารัฐฎน์ จันทร์กอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 2) สร้างโมเดลความสัมพันธ์ปัจจัยเชิงเสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 474 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .959 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน(Pearson correlation coefficient) และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor Analysis: CFA)


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก 20 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) องค์กรแห่งการเรียนรู้ มี 4 องค์ประกอบย่อย 2) การบริหารแบบมีส่วนร่วม มี 4 องค์ประกอบย่อย 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มี 4 องค์ประกอบย่อย 4) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานมี 4 องค์ประกอบย่อย และ 5) ประสิทธิผลของสถานศึกษา มี 4 องค์ประกอบย่อย

  2. โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ที่ศึกษามีความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจาก χ2 = .916, degrees of freedom (df) = 2, χ2/df = .458, P-value = .632, GFI = .999, AGFI = .994, CFI = 1.000, TLI = 1.003, RMR = .001, และ RMSEA = .000.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ องค์การรับส่ง สินค้าและพัสดุภัณฑ์.

____________. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

นงลักษณ์ วิรัชชัยและสุวิมล วองวาณิช. (2542). การสังเคราะห์งานวิจัยทางการศึกษาด้วยการ วิเคราะห์อภิมานและการวิเคราะห์เนื้อหา (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. สำนักนายกรัฐมนตรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

เรียม สุขกล่ำ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูกับประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. (2565). คู่มือแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาคุณภาพการศึกษา วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ “เด็กอุดร 1 เป็นที่ 1” ปีการศึกษา 2565. อุดรธานี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์.(2555).ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนิสา ภู่เงิน. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เสรี ชัดแช้ม. (2547). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารวิจัยและวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 2(1). 15-42.

Berkovich, I., & Eyal, O. (2017). The mediating role of principals’ transformational leadership behaviors in promoting teachers’ emotional wellness at work: A study in Israeli primary schools. Educational Management Administration & Leadership, 45(2), pp. 316 - 335.

Hall, R. H. (2003). Organizations Structure, Processes, and education. Prentice – Hall International, Inc.

Likert, R. (1961). New Pattern of Management. NY: McGraw- Hill.

Mortimore. (2001). “School Matters-The Junior Year” Open Book. In Woods, D., & Orlik, S, School Review and Inspection. London : Biddles Lid. Guildford and King’s Lynn.

Scheerens,J. & Bosker, R.(1997). The Foundations of Educational Effectiveness. Oxford : Permagon.