4. สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

วรรณภา อภิรมยานนท์
ปัญญารัฐฎน์ จันทร์กอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะหลักของผู้บริหาร 2) ศึกษาประสิทธิภาพของบุคลากร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักของผู้บริหารกับประสิทธิภาพของบุคลากร และ4) ศึกษาสมรรถนะหลักของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของบุคลากร กรณีกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร 38 คน ครูและบุคลากร 196 คน รวมทั้งสิ้น 234 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า และความเชื่อมั่นของเครื่องมือทั้งฉบับ ได้ 0.87 สถิติสำหรับการวิจัยประกอบด้วย ร้อยละ, gif.latex?\bar{x}, S.D., สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


จากการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ผู้บริหารมีสมรรถนะหลัก กรณีนี้ในภาพรวมอยู่ที่ระดับมากที่สุด สมรรถนะหลักที่สูงสุด คือ ประเด็นการบริการดี 2) ประสิทธิภาพของบุคลากร สำหรับในประเด็นนี้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ในประเด็นที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือ ด้านคุณภาพของงาน 3) สมรรถนะหลักผู้บริหารมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับประสิทธิภาพของบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 4) สมรรถนะหลักของผู้บริหาร 4 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นการพัฒนาตนเอง ประเด็นการบริการดี รวมทั้งประเด็นการทำงานเป็นทีม และประเด็นการมุ่งผลสัมฤทธิ์ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิภาพของบุคลาการทางการศึกษา ได้ร้อยละ 91.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว. (2560). "เมื่อThailand 4.0 ถูกขับเคลื่อนด้วย Education 2.0,". วารสารสานปัญญา 26, 12 (มีนาคม 2560): 4.

คณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา.(2564).รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการส่งเสริม สนับสนุนและยกระดับคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน ของคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา. สืบค้นจาก https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/573720

ชริกา ไชยเดช. (2561). สมรรถนะของผู้บริหารกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 6. สังกัดสํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ มหาวิททยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : เทพเนรมิตการพิมพ์.

ธวัชชัย แสนดวง. (2565). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จังหวัดชลบุรี. คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

นวินดา กิตติศุภธีรดา. (2564). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ. สุวีริยาสาส์น.

พนิตา จันทรรัตน์.(2554).การศึกษาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณะโลก เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

พรวลี ตรีประภากร.(2564). สมรรถนะผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ยืนยง ไทยใจดี และคณะ. (2562). พหุสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 อุดรธานี. คณะศึกษาสาสตร์ วิทยาลัยสันตพล.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2566). วิสัยทัศน์และพันธกิจของสำนักงานกรรมการการอาชีวศึกษาประจำปิงบประมาณ พ.ศ.2566. สำนักงานกรรมการการอาชีวศึกษา สืบค้นจากhttps://www.vec.go.th/th-th.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2548). หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). สรุปสาระสำคัญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564 1-3.

สุทธิศักดิ์ อ่อนตะวัน. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารกับความสุขของครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุพัฒน์ ปิ่นหอม และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในหน่วยงาน วิศวกรรมบริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) สายธุรกิจอาหารสัตว์. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 6(1), 520-533.

อุทัสน์ วีระศักดิ์การุณย์. (2556). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความต้องการในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน. ภาคนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจและกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎ-วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.

Plowman, E. & Peterson, G. E. (1953). Business organization and management. Illinois: Irwin.

Rensis, Likert. "The Method of Constructing an Attitude Scale," Reading in Attitude Theory and Measurement. edited by Martin Fishbein. New York : John Wiley & Son, 1967.