5. ผลของการฝึกความอ่อนตัวในรูปแบบโยคะควบคู่กับการฝึกความแข็งแรงที่มีต่อความสามารถ ในการปฏิบัติทักษะสปริงหลังของนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ

Main Article Content

พิสิทธิ์ สอนสมนึก
ปทุมพร ศรีอิสาณ
ธัญญาวัฒน์ หอมสมบัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ผลของการฝึกความอ่อนตัวในรูปแบบโยคะ ควบคู่กับการฝึกความแข็งแรง ที่มีต่อความสามารถในการปฏิบัติทักษะสปริงหลัง ของนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาพลศึกษา ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอุดรธานี จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบการฝึกความอ่อนตัวในรูปแบบโยคะ ควบคู่กับการฝึกความแข็งแรง สัปดาห์ละ 3 วัน จำนวน 8 สัปดาห์ ทดสอบความอ่อนตัวด้วยท่าสะพานโค้ง ทดสอบความแข็งแรงด้วยการลุกนั่ง 60 วินาที ทดสอบทักษะสปริงหลัง ทำการเปรียบเทียบผลการทดลองจากการทดสอบก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One way analysis of variance with repeated measure) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Bonferroni ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ผลการวิจัย พบว่า การทดสอบความแตกต่างของคะแนนความอ่อนตัว และความแข็งแรงก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความอ่อนตัวกับความสามารถทักษะสปริงหลัง มีค่าเท่ากับ .522 ซึ่งมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความแข็งแรงกับความสามารถทักษะสปริงหลัง มีค่าเท่ากับ .291 ซึ่งมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอยู่ในระดับน้อย อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพลศึกษา. (2562). คู่มือแบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของเด็ก เยาวชน และประชาชนไทย. กรุงเทพฯ: กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กริชเพชร นนทโคตร. (2554). การเปรียบเทียบผลการฝึกโยคะและไท้จี๋ที่มีต่อความแข็งแรงของขาและการทรงตัวของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

กิตติศักดิ์ เหลือสุข. (2559). ผลของการจัดกิจกรรมโยคะที่มีต่อความอ่อนตัว การทรงตัวและสมาธิของนักเรียนออทิสติก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฑาทิพย์ ยอดดี. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกับความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาฟุตซอล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2(3), 132-141.

ชิดชนก ศรีราช และ ชาญชลักษณ์ เยี่ยมมิตร. (2565). การศึกษาความอ่อนตัว และคุณภาพชีวิตด้านร่างกายของผู้สูงอายุ จังหวัดจันทบุรีโดยใช้โปรแกรมการฝึกการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(3), 180-189

ชุติญา อุ่นทานนท์ และ จีราวิชช์ เผือกพันธ์. (2560). การสร้างแบบฝึกกล้ามเนื้อตามลักษณะการใช้งานเพื่อพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลำตัวและขา. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(2), 71-77.

บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2550). พื้นฐานการวิจัยศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปรีชาเวช สุขเกิน. (2564). สมรรถภาพทางกายด้านความอ่อนตัว และด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ประจำภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณทิต, เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่.

ปิยานันท ์ โสพิน. (2564). ผลการฝึกความสัมพันธ์ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อควบคู่การฝึกทักษะที่มีต่อความสามารถของการเดาะตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านในของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พรรณยุพา เนาว์ศรีสอน. (2562). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยโยคะ ต่อความเหนื่อยล้าและคุณภาพชีวิตของมารดาหลังคลอดครรภ์แรก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. (2563). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาพลศึกษา (4ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563). อุดรธานี: มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอุดรธานี กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

วรากร วารี. (2564). ผลของการฝึกโยคะต่อสมรรถภาพทางกาย การทรงตัว และระดับสมาธิในเด็กออทิสติกที่มีภาวะสมาธิสั้นร่วม. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 4(2), 77-91.

ศราวุฒิ โภคา. (2556). ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะการเสิร์ฟเซปักตะกร้อร่วมกับการฝึกการทรงตัว ความอ่อนตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่มีต่อทักษะการเสิร์ฟเซปักตะกร้อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ. (2555). ชุดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาการคิดวิเคราะห์สุขศึกษา ป.6. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).

สุภัตรา กฤชประภา. (2542). การสร้างแบบทดสอบทักษะยิมนาสติก สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรัญญา บุทธิจักร์. (2555). ผลของโปรแกรมการฝึกโยคะที่มีต่อความอ่อนตัว การทรงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาของสตรีช่วงเตรียมวัยทอง. สาขาวิชามนุษยศาสตร์ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ราชมงคลสุวรรณภูมิ. พระนครศรีอยุธยา.

Baldwin, Maria C. (1999). Psychological and Physiological Influences of Hatha yoga Training on Healthy Exercising Adults. Boston University.