11. อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดและทัศนคติต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการส่งอาหาร ผ่านแอปพลิเคชันแกร็บในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

ศิวกร สุขารมณ์
ฉัตยาพร เสมอใจ
พรพิมล สัมพัทธ์พงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการส่งอาหารต่อแอปพลิเคชันแกร็บ 2) ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการส่งอาหารต่อแอปพลิเคชันแกร็บ และ 3) ทัศนคติของผู้ใช้บริการสั่งอาหารที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อแอปพลิเคชันแกร็บ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันแกร็บในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 385 คน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีค่าความเที่ยงตรงอยู่ระหว่าง .60-1.00 และค่าความเชื่อมั่น .96 การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ


ผลการวิจัย พบว่า 1) ส่วนประสมทางการตลาดแอปพลิเคชันแกร็บ อยู่ในระดับมากที่สุด อันดับแรก คือ ด้านกระบวนการด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคา 2) ทัศนคติต่อแอปพลิเคชันแกร็บ อยู่ในระดับมากที่สุด อันดับแรก คือ ด้านความเข้าใจการใช้งานแอปพลิเคชัน ด้านพฤติกรรมของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชัน และ ด้านความรู้สึกต่อการใช้งานแอปพลิเคชัน 3) ความจงรักภักดีต่อแอปพลิเคชันแกร็บอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ส่วนประสมทางการตลาด ด้านลักษณะทางกายภาพ ช่องทางการจัดจำหน่าย กระบวนการ ราคา ผลิตภัณฑ์ และบุคลากร ส่งผลต่อความจงรักภักดี และ 5) ทัศนคติ ด้านความเข้าใจ ด้านความรู้สึก และด้านพฤติกรรม ส่งผลต่อความจงรักภักดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันแกร็บจึงควรให้ความสำคัญกับด้านลักษณะทางกายภาพที่เน้นความสวยงามน่าสนใจ เน้นช่องทางที่ใช้งานได้สะดวก กระบวนการที่ง่ายและรวดเร็ว และราคาต้องชัดเจนคุ้มค่า ส่วนการสร้างความสะดวก ทำให้เกิดความคุ้นเคย และความง่ายในการใช้งานจะสร้างทัศนคติที่ดีได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เดอเหมา โจว. (2564). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้ใช้บริการส่งอาหาร สั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน Grab Food ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. (การค้นคว้าแบบอิสระ) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.

ธิดารัตน์ ปสันน์สิริคุณ. (2561). ทัศนคติการซื้อสินค้า และบริการออนไลน์ของประชาชนในจังหวัดชลบุรี. วารสารบูรพาบริหารธุรกิจ, 6(2), 1-12.

บริษัท แกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด. (2563). แกร็บเปิดตัวบริการส่งอาหาร “ไร้การสัมผัส” เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2566, จาก https://www.grab.com/th/press/others/contactless-delivery-th/

บริษัท มาร์เก็ตเทียร์ จำกัด. (2565). ธุรกิจส่งอาหาร ปี 2565 โอกาสใหญ่ที่ยังคงมาพร้อมกับความท้าทายใหม่ๆ. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2566, จาก https://marketeeronline.co/archives/238397

ภคมน ณ นครพนม. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการแอปพลิเคชันส่งอาหารของผู้บริโภคเจนวาย ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. (การค้นคว้าแบบอิสระ) มหาวิทยาลัยมหิดล, การจัดการมหาบัณฑิต.

ลลิตา ขุนเทา, สุธาสินี สุขะอาคม และณัฏฐนันท์ ชยันต์โสงขุนทด. (2566). ปัจจัยด้านทัศนคติที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชันไลน์แมน ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 13(1), 1-26.

ลัดดาวัลย์ ฝอยทอง. (2565). กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำ และการบอกต่อของลูกค้าร้านอาหารริมแม่น้ำบางปะกง. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 6(1), 1-10.

สมปรารถนา เมืองก่อ. (2566). ปัจจัยการตลาดที่มีผลต่อการสั่งซื้ออาหารผ่าน Application Line Man ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าแบบอิสระ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง, คณะบริหารธุรกิจ, สาขาการบัญชี.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3rd Edition, New York.

Cronbach, L. J. (1984). Essentials of psychological testing (4th ed.). New York, NY : Harper & Row.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. & Anderson, R.E. (2014). Multivariate Data Analysis. 7th Edition, Pearson Education, Upper Saddle River.

Schiffman, L.G. & Kanuk, L.L. (1994). An Empirical Study of Perceived Factors Affecting Customer Satisfaction to Re-Purchase Intention in Online Stores in China. Journal of Service Science and Management, 8(11), 1-302.