การศึกษาสภาพปัจจุบัน ในการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนให้ปลอดภัยจากสารเสพติด และการถูก ล่วงละเมิดทางเพศ กรณีศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี

Main Article Content

บุญเลี้ยง จอดนอก
ปัญญารัฐฎน์ จันทร์กอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ในด้านนโยบาย แนวคิด หลักการในการดำเนินงานพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนให้ปลอดภัยจากสารเสพติด และการถูกล่วงละเมิดทางเพศของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วม ของเครือข่ายภายในและเครือข่ายภายนอกสถานศึกษา ในการพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานพัฒนาทักษะชีวิตให้ปลอดภัยจากสารเสพติด และการถูกล่วงละเมิดทางเพศ กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 16 คน และบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงเรียน จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัจจุบันสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนมีการดำเนินงานพัฒนาทักษะชีวิตซึ่งเป็นไปตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่มีความแตกต่างกันในรายละเอียดด้านความถี่ของการทำกิจกรรมในโรงเรียนและความต่อเนื่องของการดำเนินงาน 2) มีเครือข่ายภายในและเครือข่ายภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานขึ้นกับความต้องการเฉพาะเรื่องที่สถานศึกษาต้องการพัฒนา 3) ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานคือ ขาดบุคลากรที่มีความรู้และความสามารถในการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน เช่น นักจิตวิทยา และครูแนะแนวที่มีความเข้าใจในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระบบการรายงานข้อมูลการติดตามผล การทำงานที่ไม่ต่อเนื่องและไม่รายงานข้อมูลตามสภาพจริง ขาดเทคนิควิธีการช่วยเหลือนักเรียน ขาดแคลนงบประมาณเฉพาะที่จะนำมาพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียน และปัญหาด้านเศรษฐกิจในชุมชน นอกจากนั้นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรเพิ่มจำนวนครูแนะแนวและพัฒนาครูให้มีความรู้ด้านจิตวิทยา รวมถึงการสนับสนุนสื่อ นวัตกรรม และงบประมาณในการทำกิจกรรมที่ต่อเนื่อง ในส่วนของโรงเรียนควรมีหลักสูตร คู่มือ แนวทางดำเนินงานและส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาความรู้ในด้านการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนและการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉัตร์ชัย สิงห์โต. (2555). รูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิสิฐ เทพไกรวัล. (2554). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2564). รายงานประจำปี 2564 กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

______. (2564). คู่มือแนวทางปฏิบัติและมาตรการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564. (พิมพ์ครั้งที่ 5). โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

______. (2565). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

Callan, V. & Ashworth, P. (2004). Working Together: Industry and VET Provider Training Partnerships. http://www.ncver.edu.au.

Creswell, J. W. (2005). Educational research: Planning, conducting, and evaluating quantitative and qualitative research. Upper Saddle River, NJ: Pearson.

Dubrin, A.J. & Ireland, R.D. (1993). Management and organization. (2nd ed.). South Western Publishing Company.

Ghabakhlou, B., Ghalavandi, H., & Hosseinpour, AR. (2021). Provision of curriculum model of student life skills at primary schools of Iran. http://dx.doi.org/10.20511/pyr2021.v9nSPE3.1124.

Glaser, B. G., & Strauss A. L. (1967). The discovery of grounded theory: Strategies for qualitative research. Chicago: Sociology Press.

Ribchester, & William J. Edwards. (2007). Co-operation in the countryside: small primary School Clusters. http//www.ebscohot.com.

World Health Organization. (1993). Life Skills Education for Children and Adolescents in Schools. Programme on Mental Health. http://www.unescap/org/esid/hds/pubs/2317/m7.pdf.