16. การพัฒนาแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้ เรื่องเครื่องดนตรีพื้นบ้าน ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม

Main Article Content

อานนท์ โพธิ์เอม
ศรัณยู บุตรโคตร
นครินทร์ ปรีชา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม เรื่องเครื่องดนตรีพื้นบ้านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) ประเมินประสิทธิภาพแอปพลิเคชัน เรื่องเครื่องดนตรีพื้นบ้านด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานแอปพลิเคชันเครื่องดนตรีพื้นบ้านด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) การประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดีย และผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อการสอน วิชาดนตรี-นาฎศิลป์ จำนวน 3 คน 2) การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบรบือ (บรบือราษฎร์ผดุง) จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 35 คน โดยมีวิธีเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม เรื่องเครื่องดนตรีพื้นบ้าน แบบประเมินประสิทธิภาพและแบบประเมินความพึงพอใจ สติถิที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลวิจัยพบว่า (1) แอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม เรื่องเครื่องดนตรีพื้นบ้าน สามารถนำไปใช้งานกับนักเรียนที่มีความสนใจได้จริง (2) ประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.46) (3) การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ ผลประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.35)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นฤมล อินทิรักษ์. (2561). การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดมหาสารคามโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง. ทุนอุดหนุนวิจัย. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

นพรัตน์ น้ำคำ และ เหมมิญช์ ธนปัทม์มีมณี. (2566). การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ชุดการสอนด้วยความเป็นจริงเสริม เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาจีน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 6(20), 108-120.

ประทีป นักปี. (2560). พื้นฐานดนตรี-นาฏศิลป์ ระดับชั้น ป.6. กรุงเทพฯ : สำหนักพิมพ์อักษร อินสไปร์.

ภาณุวัฒน์ เรืองกุลทรัพย์, ศรัณยู บุตรโคตร และ อิทธิชัย อินลุเพท. (2565). การพัฒนาสื่อแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นระดับพื้นฐานด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(2), 298-312.

ระบบร่างกายมนุษย์ AR 3 มิติ. (2566). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เอ็มไอเอส.

วุฒิภัทร หนูยอด, เจษฎา สิงห์ทองชัย และ มานิตย์ สิงห์ทองชัย. (2565). การพัฒนาแอปพลิเคชันแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 14(19), 96-106.

สุนันทา ศิริสุขพิมล. (2566). พัฒนาสื่อการเรียนรู้สามมิติแบบเสมือนจริงโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม Augmented Reality (AR) เรื่องระบบสุริยะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. ทุนสนับสนุนการวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักการศึกษา

เอกรัฐ วะราโภ และ อรวรรณ แท่งทอง. (2562). สื่อการเรียนรู้ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะด้วยเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) กรณีศึกษานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกวดวิชา IMaths&Robots child’s Lopburi. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 5(2), 77-83.

เอกรินทร์ สี่มหาศาล. (2560). แบบวัดและบันทึกผลการเรียนรู้ ดนตรี - นาฏศิลป์ ระดับชั้น ป.6. กรุงเทพฯ : สำหนักพิมพ์อักษร อินสไปร์.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2566). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ฮานูณา มุสะอะรง, กาญจนารัศมิ์ เทพณรงค์ และ ดารารัตน์ ดำรงฤทธิ์. (2564). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ความจริงเสมือนเรื่อง ดนตรีบานอโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง. ทุนอุดหนุนวิจัย. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา