สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 2. นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี) ที่เรียนรายวิชาการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มีค่าความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.80-1.00 และมีค่าความเที่ยงคำนวณโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้เท่ากับ .85 และแบบสัมภาษณ์สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มีค่าความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.80-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่านักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มีปัญหาเกี่ยวกับศูนย์พัฒนาวิชาชีพครูมากที่สุด ( = 3.29, = 1.12) มีปัญหาเกี่ยวกับอาจารย์นิเทศก์น้อยที่สุด ( = 1.98, = 1.46) สำหรับแนวทางการปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในระดับสาขาวิชา ได้แก่ การสร้างช่องการสื่อสารเพิ่มเติมที่เป็นตัวกลางระหว่างศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพและนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย การสื่อสารข้อมูลที่เป็นข้อค้นพบเพื่อหาทางแนวทางแก้ไขร่วมกับคณะครุศาสตร์ การจัดให้มีเวทีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสำรวจความต้องการจำเป็นเพื่อเป็นข้อมูลสำคัญในการออกแบบให้ความช่วยเหลือนักศึกษาได้อย่างเหมาะสม สำหรับแนวทางการปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในระดับคณะ ได้แก่ การเน้นย้ำบทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระดับสาขาวิชาและโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การออกแบบให้มีระบบที่ทันสมัยสอดคล้องกับยุคดิจิทัล เช่น การเพิ่มช่องทางการดาวน์โหลดเอกสาร และการรับ-ส่งเอกสารผ่านระบบออนไลน์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
ชาตรี ฝ่ายคำตา เอกภูมิ จันทรขันตี และวรรณทิพา รอดแรงค้า. (2553). การศึกษาสภาพการจัดประสบการณ์วิชาชีพครูหลักสูตรการผลิตครู 5 ปี: รายวิชาการสังเกตและฝึกปฏิบัติงานในโรงเรียน. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 31(3), 333-345.
ปวีณา เมืองมูล. (2561). การศึกษาพฤติกรรมการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
พิชญา สกุลวิทย์. (2561). การศึกษาการจัดประสบการณ์วิชาชีพครูรายวิชาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 และ 2 ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาภาษาไทย ปีการศึกษา 2559 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
รัฐพล พรหมสะอาด สุรชัย มีชาญ และอรอุมา เจริญสุข. (2561). การนำเสนอแนวทางการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(38), 119-134.
วรกุล เชวงกุล. (2557). ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาโปรแกรมวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
วรวิทย์ หมุดละ. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะภาวะผู้นำกับการเติบโตในการทำงานของบุคลากรกลุ่ม LQBTQ ในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชน ในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วิลาวัณย์ จารุอริยานนท์. (2556). รูปแบบการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ศิรดา ทองเชื้อ และนฤมล ศราพันธุ์. (2557). ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนิสิตฝึกสอน สาขาคหกรรมศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 29(2), 193-202.
สิริรัตน์ หอมชื่นชม. (2558). ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาสาขาวิชาครุศาสตร์เกษตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปีการศึกษา 2557. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
สุรกานต์ จังหาร. (2551). ระบบฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อรนุช ศรีคำ. (2564). การศึกษาสภาพปัญหาการวิจัยในชั้น เรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 1(1), 15-24.
Erdamar, G., Aytic, T., Turk, N. & Arseven, Z. (2016). The Effect of Gender on Attitudes of Preservice Teachers towards the Teaching Profession: A Meta-analysis Study. Universal Journal of Educational Research, 4(2), 445-456.
Geng, G., Disney, L., Midford, R. & Buckworth, J. (2022). Gender and Stress Levels among Pre-Service Teachers. Australian Journal of Teacher Education, 47(11), 1-17.
Xu, S. (2022). Beginning Teacher Training System in Shanghai: How to Guarantee the Teaching Profession from the Start?. BCES Conference Books, 20, 166-173.