ผลการใช้บอร์ดเกมในกระบวนการทางภูมิศาสตร์ที่มีต่อความสามารถทางภูมิศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ตฤณญา อังกุรอัชฌา
รุ่งทิวา จันทร์วัฒนวงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้บอร์ดเกมในกระบวนการทางภูมิศาสตร์ที่มีต่อความสามารถทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566  โรงเรียนหนึ่งในกลุ่มโรงเรียนชุมช้างบ้านผือ จำนวน 50 คน ซึ่งจัดเป็น 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 25 คน สุ่มห้องเรียนเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง และกลุ่มควบคุม 1 ห้อง โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) แบบแผนการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลองที่มีกลุ่มควบคุม ทดสอบก่อนและหลัง (Pre-test post-test Control Group design) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบความสามารถทางภูมิศาสตร์ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.60 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.46 - 0.69 และค่าความยากง่ายเท่ากับ 0.67 – 0.78 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบไม่อิสระ t-test (Dependent Samples) และการทดสอบทีแบบอิสระ t-test (Independent Samples) ผลการวิจัยพบว่า คะแนนความสามารถทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บอร์ดเกมในกระบวนการทางภูมิศาสตร์ และที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์แบบปกติ นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถทางภูมิศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนพัฒนาการความสามารถทางภูมิศาสตร์พบว่า
กลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บอร์ดเกมในกระบวนการทางภูมิศาสตร์ มีคะแนนพัฒนาการเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนก จันทรา. (2561). การรู้เรื่องภูมิศาสตร์ Geo-literacy our planet. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางสาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). สืบค้น จาก สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา https://drive.google.com/file/d/1uKcNtZr8G94vPOv19ftTKp2g2jq6Y7W3/view.

คณัฏพัส บุตรแสน. (2561). การศึกษาผลการเรียนรู้และความสามารถทางภูมิศาสตร์เรื่อง เรียนรู้ ร่วมคิด แก้วิกฤตสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและวิธีสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ตฤณญา อังกุรอัชฌา. (2566). รายงานการสำรวจการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย "กระบวนการทางภูมิศาสตร์”. หนองคาย: โรงเรียนบ้านผือ.

ธีรภาพ แซ่เชี่ย. (2560). การใช้บอร์ดเกมประเภทวางแผนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ในโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดปทุมธานี. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิทยาการเรียนรู้และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปรีชาพล กำแพงวิทย์. (2563). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการเรื่อง ป่าเขา ลำเนา วิถีชีวิตชุมชน ชุมชนลุ่มแม่น้ำเจียง เพื่อสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์บนฐานการเรียนรู้ของชุมชน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปุรินทร์ นิติธรรมาสุสรณ์. (2565). การประยุกต์ใช้บอร์ดเกมการศึกษากับเด็กที่มีความบกพร่องทางสมาธิ. สารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(3), 294.

พีรพงศ์ จ้อยชารัตน์. (2564). การพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้กรณีศึกษาร่วมกับกระบวนการทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาหลักสูตรและวิธีสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โรงเรียนบ้านผือ. (2565). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านผือ. หนองคาย: โรงเรียนบ้านผือ.

วชิรวิทย์ เอี่ยมวิลัย. (2563). การพัฒนาบอร์ดเกมตามแนวทางการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 2. (2564). รายงานผลการนิเทศก์ประจำปีการศึกษา2564. หนองคาย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 2.

NSW education standards authority. (2015). Geography K–10 Syllabus. Retrieved fromhttps://educationstandards.nsw.edu.au/wps/portal/nesa/k-10/learning-areas/hsie/geography-k-10.