แนวทางกลยุทธ์การตลาดสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา : ผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทอาหารที่มีระดับต่ำกว่า 5 ดาว ในเขตอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาศักยภาพการดําเนินงานวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑประเภทอาหาร 2. เพื่อศึกษาปญหาและอุปสรรคการดําเนินงานเพื่อพัฒนาสูระดับ 5 ดาว ของผลิตภัณฑประเภทอาหาร และ 3. เพื่อกําหนดแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และลกยุทธ์การตลาดสูระดับ 5 ดาว ของผลิตภัณฑประเภทอาหาร ในอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี วิธีการดำเนินวิจัยเป็นการศึกษาศักยภาพ ปัญหา และข้อจำกัดในการบริหารจัดการด้านการตลาด ของวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารที่มีระดับต่ำกว่า 5 ดาว ในอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี เพื่อหาแนวทางกลยุทธ์การตลาดสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ วิสาหกิจชุมชนที่ผ่านกระบวนการคัดเลือกโดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ได้จำนวน 5 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย มีจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดสนทนากลุ่ม และนำข้อมูลที่ได้จากการประชุม มาตีความวิเคราะห์สรุปผลเชิงเหตุผลและดำเนินการประเมินความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พบว่า 1) ดานการผลิตมีวัตถุดิบและแรงงานในท้องถิ่นที่ยังไม่เพียงพอ 2) ดานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ วิสาหกิจชุมชนยังมีความเข้าใจในเกณฑ์มาตรฐานเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถยื่นขอยกระดับดาวไม่มากนัก และต้องการรูปแบบการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่แตกต่าง 3) ด้านความเข้มแข็งของชุมชน สมาชิกมีอาชีพรับจ้างทำงานอื่นๆ ด้วย ทำให้การบริหารจัดการไม่ต่อเนื่อง 4) ดานการตลาด สินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า แหล่งจำหน่ายยังไม่เข้าถึงลูกค้ารายใหม่ และยังไม่มีการโฆษณาสินค้าที่หลากหลาย 5) ดานเรื่องราวของผลิตภัณฑ วิสาหกิจชุมชนมีการจัดทําเรื่องราวของผลิตภัณฑ์ แต่ขาดการประชาสัมพันธ์ 6) ด้านคุณภาพสินค้า มีการควบคุมคุณภาพในการผลิต แต่ต้องพัฒนาเพิ่มศักยภาพในกระบวนการผลิตให้ดีขึ้น 7) ด้านรูปลักษณผลิตภัณฑ์ มีการออกแบบบรรจุภัณฑ์หลายรูปแบบแต่เก็บรักษาสินค้าให้คงคุณภาพที่สมบูรณ์ไว้ไม่ได้นาน โดยแนวทางในการพัฒนากลยุทธ์การตลาดวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร ระดับต่ำกว่า 5 ดาว ของอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ 1. มีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน คัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพจากแหล่งผลิตที่หลากหลาย 2. สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารที่มีเอกลักษณ์ด้วยทรัพยากรในท้องถิ่น 3. มีการใช้ระบบสมาชิกและสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน 4.มีการสื่อสารการตลาดและสร้างช่องทางการขายในรูปแบบใหม่ด้วยการนำเทคโนโลยีออนไลน์เข้ามาช่วยสนับสนุน 5.สร้างคุณค่าผลิตภัณฑ์ด้วยการถ่ายทอดเรื่องราวชุมชนผ่านเครือข่ายจากหน่วยงานราชการและสถาบันการศึกษาอย่างต่อเนื่อง 6. มีการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย และคำนึงถึงผลกระทบต่อต้นทุน 7. มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สามารถเก็บรักษาสินค้าได้นานขึ้น มีรูปลักษณ์ที่น่าสนใจและตรงกับความต้องการของลูกค้า
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
จังหวัดอุดรธานี. (2565). คัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ.2565 (OTOP Product Champion). สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2565. จาก https://www.udonthani.go.th/main/news180565-2
ปานศิริ พูนพล และ ทิพวรรณ พรมลาย. (2560). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการตลาดของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP (ระดับ 1-5 ดาว) ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 7(ฉบับพิเศษ). 23 – 33.
มาโนชย์ นวลสระ, น้ำเพชร เตปินสาย และชัชชญา ชุติณัฐภูวดล. (2564). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และตราสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน ระดับสากล จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 15(1), 119 – 134.
รุ่งศิริ สระบัว และกิตติพล สระบัว. (2564). การพัฒนาการจัดการการตลาดในการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ยั่งยืน ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 9(2), 194–204.
วีระนันท์ คำนึงวุฒิ และอัญชนา กลิ่นเทียน. (2562). การพัฒนารูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์และการตลาดออนไลน์สำหรับสินค้า OTOP ในประเทศไทย กรณีศึกษาสินค้า OTOP จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(2), 32 – 42.
สํานักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ (2563). ความเป็นมาโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2565. จาก https://tpso.go.th/document/2404
สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย (2567). แนวทางการส่งเสริมสินค้าโอทอป (OTOP). สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567. จาก https://cep.cdd.go.th/otop-data
สุภาพร พรมมะเริง. (2562). แนวทางการยกระดับสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านริมร่อง ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 21(1). 248 – 258.
อาทิมา วงษ์สีมาอนันต์ และชมภูนุช หุ่นนาค. (2563). การพัฒนาการท่องเที่ยววิถีชุมชนควบคู่ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 8(3). 40 – 55.