ผลการพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทย โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • มิรันตี นิมิตกุล
  • สงวนพงศ์ ชวนชม
  • ไพศาล หวังพานิช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทย โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทย ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสระพัง จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความภาษาไทย โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC จำนวน 8 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง โดยใช้แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความ และแบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ดำเนินการทดลองโดยใช้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทย โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC อยู่ในระดับมาก

References

จิรภา จันทพัฒน์. (2550). ผลการใช้วิธีสอนแบบ CIRC ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านและความสามารถในการเขียนภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยทักษิณ.
จุรีพันธ์ ภาษี. (2550). ผลการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต .มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์.
ภาวดี จิตตามัย. (2548). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเทคนิค CIRC และจัดการเรียนรูด้วยวิธีสอนเพื่อการสื่อสารแบบ 3PS. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภาวนา ดาวเรือง. (2550). การพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจและการเขียนสะกดคำยากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรรณี โสมประยูร. (2539). การสอนภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
วาสนา สวนสีดา. (2548). การเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สอนด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือกันเทคนิค CIRC และวิธีสอนอ่านเพื่อการสื่อสาร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุกัลยา สัปทน และสุภาพร แสนแทน. (2552). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทย โดยใช้เทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุจริต เพียรชอบ. (2542). ภูมิปัญญาไทยในภาษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ.(2545). 19 วิธีการจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพฯ : ภาพการพิมพ์.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-01

How to Cite

Share |