การพัฒนาหลักสูตรหลักสูตรส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำสำคัญ:
การพัฒนาหลักสูตร, การเห็นคุณค่าในตนเอง, จิตตปัญญาศึกษาบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน จำนวน 40 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ หลักสูตรและคู่มือการใช้หลักสูตรส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเอง ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา และแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t–test แบบ dependent)
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนาหลักสูตรและประเมินคุณภาพหลักสูตร พบว่า 1) หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นคือ หลักสูตรส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเอง ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ความเป็นมาและความสำคัญของหลักสูตร (2) หลักการของหลักสูตร (3) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร (4) โครงสร้าง/เนื้อหาของหลักสูตร (5) กิจกรรมการเรียนรู้ (6) สื่อและแหล่งการเรียนรู้ (7) การวัดและการประเมินผล และ 2) ในภาพรวมหลักสูตรมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (X̅= 4.21, S.D. = 0.65) และคู่มือการใช้หลักสูตรมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅= 4.25, S.D. = 0.60) 2. ผลการใช้หลักสูตรส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเอง ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ผู้เรียนมีคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กัมปนาท บริบูรณ์. (2550). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองและวิธีคิดตามแนวคิดเป็นของนักเรียนโรงเรียนนิวัฒน์พลเมืองโดยวิธีกระบวนการกลุ่ม (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2562). แผนการปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษา. สืบค้นจาก https://www.kroobannok.com/86760
จักรฤษณ์ จันทะคุณ, อมรรัตน์ วัฒนาธร, วารีรัตน์ แก้วอุไร และเอื้อมพร หลินเจริญ. (2558). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างจิตสำนึกในการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(1), 1-13.
เฉลิมพล สวัสดิ์พงษ์, วิชัย วงษ์ใหญ่, ศิริยุภา พูลสุวรรณ และมนัส บุญประกอบ. (2551). การพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เพื่อสร้างเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 31(3), 31-40.
ธนา นิลชัยโกวิทย์. (2551). การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและจิตตปัญญาศึกษา (Transformative learning and contemplative education) (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
ประจิม เมืองแก้ว. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษาเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
พระครูปริยัติสุวรรณรังษี. (2559). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมในยุคประชาคมอาเซียนโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและโยนิโสมนสิการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.
รัตนะ บัวสนธ์. (2551). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร: พิษณุโลก.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 - 2564. สืบค้นจาก https://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422
สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม. (2553). คู่มือการจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรมในสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์
Coopersmith, S. (1984). SEI: Self-esteem inventories. California: Consulting Psychologist Press lnc.
Mackler, J., Aguila, A. P., & Serena, K. C. (2008). What is contemplative education and what are
some ways to introduce it into higher education in Mexico?. Retrieved from http://www.contemplativemind.org/enewsletter/2009_Summer/What_is_Contemplative_Education_2008.pdf
Taba, H. (1962). Curriculum Development Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace and World.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.