การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะศตวรรษที่ 21 โดยใช้บทเรียนออนไลน์
คำสำคัญ:
บทเรียนออนไลน์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์ให้มีคุณภาพดี 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ และ 3) เปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์และกลุ่มที่เรียนวิธีปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม ประกอบด้วย นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 4 หมู่เรียน 104 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 2 หมู่เรียน จำนวน 54 คน และกลุ่มควบคุม 2 หมู่เรียน จำนวน 50 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ บทเรียนออนไลน์ แผนการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินทักษะศตวรรษที่ 21 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที ผลการวิจัย พบว่า บทเรียนออนไลน์วิชาเทคโนโลยีการศึกษาโดยรวมคุณภาพของบทเรียนอยู่ในระดับดีมากที่สุด กลุ่มนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มนักศึกษาที่เรียนด้วยวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาที่เรียนโดยบทเรียนออนไลน์ และกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีปกติมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ใน 3 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการสื่อสารและทักษะการทำงานร่วมกัน และมี 1 ทักษะที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณReferences
ชามาศ ดิษฐเจริญ. (2556). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวคอนสตรัคชั่นนิซึ่ม ในรายวิชาการเขียนโปรแกรมพัฒนาหุ่นยนต์ประยุกต์ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบันฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
เชน ชวนชม. (2561). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน เรื่อง การใช้งานโปรแกรม Microsoft office สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา, 10(3), 195-206.
ทิศนา แขมมณี. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.
พรพรรณ แสงแก้ว. (2559). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์เชิงปฏิสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วม วิชาระบบฐานข้อมูล สำหรับสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 3(2), 14-22.
พัศนีย์ นันตา, เพ็ญนภา เจริญศิลป์, ราตรี จรัสมาธุสร, และยุภาวรรณ ดวงอินดา. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางปัญญากับการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, กรุงเทพฯ.
ไพโรจน์ เบาใจ, พูลศรี เวศย์อุฬาร, และพุทธมนต์ อัจฉริยนนท์. (2560). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงตามสภาพแวดล้อมทางการเรียนส่วนบุคคลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เรื่อง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลพื้นฐาน.วารสารเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา, 24(1), 73–89.
รสริน พิมลบรรยงก์. (2551). ระบบการสอนและการฝึกอบรม : การออกแบบการพัฒนา และการนำไปใช้. นครราชสีมา: โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตาพับลิเคชั่น.
สุเทียน ดาศรี และอุดม หอมคำ. (2557). การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาอนาคตสำหรับผู้เรียน เพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง. วารสารไอซีทีเพื่อการศึกษา, 1(1), 40-53.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
Gunawan, G., Sahidu, H., Harjono, A., & Suranti, N. M. Y. (2017). The Effect of Project Based Learning with Virtual Media Assistance on Student's Creativity in Physics. Retrieved from https://journal.uny.ac.id/index.php/cp/article/view/13514/pdf
Lisa, E. G. & Gary L. M. (2002). Collaborative Peer Evaluation: Best Practices for Group Member Assessments. Business Communication Quarterly, 65(1), 9-20.
Magulsim, Z. (2013). The Common Climate of Classroom Communication. Kazakhstan: National University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.