สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณลักษณะโรงเรียนคุณธรรม ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • รวิภัทร ชัยภัทรธนสร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สำเริง บุญเรืองรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สงวนพงศ์ ชวนชม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา, คุณลักษณะโรงเรียนคุณธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาและคุณลักษณะโรงเรียนคุณธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 2) ศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณลักษณะโรงเรียนคุณธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน/ รองผู้อำนวยการบริหารงานวิชาการ/ หัวหน้างานวิชาการ/ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา/ ผู้รับผิดชอบงานโรงเรียนคุณธรรม/ ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา/ ผู้แทนผู้ปกครอง/ ผู้แทนองค์กร/ ผู้แทนชุมชน/ ผู้ทรงคุณวุฒิ รวม 384 คน รวม 96 โรงเรียน โดยใช้เกณฑ์ร้อยละ 40 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาได้มาการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามสมรรถนะหลักของผู้อำนวยการโรงเรียน 2) แบบสอบถามสมรรถนะประจำสายงานผู้อำนวยการโรงเรียน 3) แบบสอบถามคุณลักษณะของโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.40-0.85 ค่าความเชื่อมั่น 0.991 การวิเคราะห์ข้อมูลคำนวณค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาและคุณลักษณะโรงเรียนคุณธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (1.1) สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การพัฒนาศักยภาพบุคลากร มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือการทำงานเป็นทีม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดและการวิเคราะห์ สังเคราะห์และการวิจัย มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากเป็นลำดับสุดท้าย (1.2) คุณลักษณะโรงเรียนคุณธรรม ในโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความกตัญญู มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ อุดมการณ์คุณธรรม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด และมีองค์ความรู้นวัตกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมและบูรณาการไว้ในชั้นเรียน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เป็นลำดับสุดท้าย 2) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณลักษณะโรงเรียนคุณธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 6 ตัวแปร ได้แก่ (1) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (2) การพัฒนาตนเอง (3) การทำงานเป็นทีม (4) การวิเคราะห์สังเคราะห์และการวิจัย (5) การสื่อสารและการจูงใจ (6) การบริหารองค์กร ส่วนสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณลักษณะโรงเรียนคุณธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 3 ตัวแปร ได้แก่ (1) การบริการที่ดี (2) การพัฒนาศักยภาพบุคลากร (3) การมีวิสัยทัศน์ ซึ่งทั้ง 9 ตัวแปร อธิบายความเป็นสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณลักษณะโรงเรียนคุณธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา ได้ร้อยละ 62.50

ZY = .099ZX1 + .199ZX2 +.136ZX3 +.128ZX4 + .142ZX5 +.122ZX6 + .156ZX7 + .133ZX8 + .253ZX9

References

ชุมสาย บวรศักดิ์เสถียร และดิเรก พรสีมา. (2556). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 3(2), 49-56.

ดนัย เทียนพุฒ. (2549). Marketing KPIs: ดัชนีวัดองค์กรที่มุ่งการตลาด. กรุงเทพฯ: เอ.อาร์.อินฟอร์เมชั่นแอนด์พับลิเคชั่น.

ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2547). คุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหาร. นนทบุรี: ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2550). คุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

ธีรภัทร แสนอามาตย์. (2552). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 และ เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, เลย.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอรเน็ท.

นุชนรา รัตนศิระประภา. (2557). สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณลักษณะโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 7(3), 507-528.

บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. (2535). การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง. วารสารการวัดผลการศึกษา มศว. มหาสารคาม, (3), 22-25.

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2543). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พี.เอ็น. การพิมพ์.

พศิน แตงจวง. (2554). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ดวงกมลพัลลิชชิ่ง.

พัศนิยา โกยสกุล. (2556). สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานโรงเรียนคุณภาพ สังกัดกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

มณฑา จำปาเหลือง. (2551). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการศึกษาโดยครอบครัว. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา, 2(1), 39-53.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2550). การบริหารงานบุคคลภาครัฐ (พิมพ์ครั้งที่ 20). นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เรชา ชูสุวรรณ. (2550). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

วริศราภรณ์ น้อยใจมั่น, โสพิศ เทศสลุด, และอุบลรักษ์ สุริยะคำวงศ์. (2552). สมรรถนะของผู้ปริหารสถานศึกษาที่ส่งผลสำเร็จในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1 (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

ศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2558). คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.

ศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2560). กระบวนการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.

สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. (2552). รายงานการสร้างรูปแบบประเมินสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษาฉบับบูรณาการ. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แนวปฏิบัติการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2558). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย.

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2559). แนวทางการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ประจำปีงบประมาณ 2560. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing (5th ed). New York: Harper and Row.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Kustulasari, A. (2009). The International Standard School Project in Indonesia: A Policy Document Analysis (Master’s Thesis). Graduate School. The Ohio State University, Ohio.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-18

How to Cite

Share |