รูปแบบการบริหารอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ผู้แต่ง

  • ธนภัทร แสงจันทร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • ชูเกียรติ วิเศษเสนา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สงวนพงศ์ ชวนชม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สมบูรณ์ ตันยะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหารอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่มีประสิทธิผล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาการบริหารอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี  ที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา 3) ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ จำนวน 3 คน 2) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน 3) ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หัวหน้างานทวิภาคีของสถานศึกษา จำนวน 306 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสม เท่ากับ 4.91 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาการบริหารอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ข้อ ดังนี้ (1) ผลของการศึกษาสภาพ พบว่ามีนโยบายและเป้าหมายที่จะเพิ่มปริมาณผู้เรียนในระบบทวิภาคีให้มากขึ้น ผลิตผู้เรียนที่มีสมรรถนะตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ มีการจัดโครงสร้างการบริหารตามคู่มือแนวทางปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี และมีปัญหาเกี่ยวกับความร่วมมือกับสถานประกอบการในช่วงเริ่มต้น (2) ผลของการศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี พบว่า ควรนำกระบวนการบริหารแบบ POLC และองค์ประกอบ 5C มาใช้ในการบริหารอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาเพื่อให้มีประสิทธิผล 2) รูปแบบการบริหารอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ สาระสำคัญของรูปแบบ การนำรูปแบบสู่การปฏิบัติ และเงื่อนไขสู่ความสำเร็จโดยมีการประเมินความเหมาะสม ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

References

คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.). (2561). แนวทางปฏิรูปการอาชีวศึกษาไทย. สืบค้นจาก http://www.tw-tutor.com/downloads/Education%20%20(2552-2561).pdf

จินตนา รวมชมรัตน์. (2558). รูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, กาญจนบุรี.

ณรงค์ ฤทธิเดช. (2552). การพัฒนารูปแบบการดำเนินการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีระดับอาชีวศึกษาจังหวัด โดยใช้กระบวนการเครือข่ายศูนย์กำลังคนอาชีวะจังหวัด (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.

ธานินทร์ ศรีชมพู. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี, สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2557). หลักเกณฑ์การส่งเสริมและพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศปี พ.ศ. 2557. สืบค้นจาก http://www.kanpoly.ac.th/kan/tavi/tavi3.pdf

ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี, สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2557). แนวทางปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี พ.ศ. 2557. สืบค้นจาก https://dvec.vec.go.th/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3/%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%94/tabid/6826/ArticleId/20667/language/en-US/-2557-1-2.aspx

ณัฐสิฏ รักษ์เกียรติวงศ์. (2559). การปฏิรูปอาชีวศึกษาของประเทศไทย. สืบค้นจาก https://tdri.or.th/2016/08/vocational-education-reform/

Allen, L. A. (1958). Management and Organization. New York: McGraw-Hill.

Yamane, T. (1967). Statistics: an Introductory Analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-28

How to Cite

Share |