การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
คำสำคัญ:
หลักสูตร, ทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์, นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) ตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรทางด้านคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) กลุ่มตัวอย่างสำหรับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 ท่าน 2) กลุ่มตัวอย่างสำหรับวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้อำนวยการ คณะกรรมการสถานศึกษา และครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 30 คน ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา
ซึ่งเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ขั้นตอนการวิจัยใน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น เพื่อศึกษาปัญหาที่แท้จริง ระยะที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรทางด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ วิเคราะห์ความต้องการ เลือกจัดระบบเนื้อหาวิชา เลือกจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กำหนดการประเมินและวิธีการประเมินผล ระยะที่ 3 การตรวจสอบคุณภาพของการพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้หลักสูตรเสริมสร้างทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมายของหลักสูตร สมรรถนะสำคัญ โครงสร้างรายวิชา คำอธิบายรายวิชาและการวัดและประเมินผล 2) ได้คุณภาพหลักสูตรเสริมสร้างทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญมีค่าฉันทามติผ่านเกณฑ์ โดยมีค่ามัธยฐานมากกว่าหรือเท่ากับ 3.50 (Mdn. ≥ 3.50) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.5 (IR. ≤ 1.5) คุณภาพหลักสูตรเสริมสร้างทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีความเหมาะสมสามารถนําไปใช้ได้
References
กระทรงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ฉบับที่ 2) และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545 และ (ฉบับที่ 3) และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2553. สืบค้นจาก https://drive.google.com/file/d/1io9ioK38P_pjWtZBiblus409rEdC24aj/view
ดวงนภา มกรานุรักษ์. (2554). อนาคตภาพการอาชีวศึกษาไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2554-2564) (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
พิศมัย อาแพงพันธ์. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบอิงบริบทเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการถ่ายโอนการเรียนรู้ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.
พิริยา สีสด. (2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, ลพบุรี. doi: https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/TRU.the.2014.23
เพ็ญวิภา พรหมสุวรรณ์, พูนชัย ยาวิราช, ไพรภ รัตนชูวงค์ และสมเกียรติ ตุ่นแก้ว. (2558). อนาคตภาพของการนิเทศการศึกษาสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2556-2565). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(3), 91-100.
มนตรี จุฬาวัฒนฑล. (2556). สะเต็มศึกษาประเทศไทยและทูตสะเต็ม (STEM Education Thailand and STEM Ambassadors). นิตยสาร สสวท., 42(185), 14-18.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2559). ระบบประกาศและรายงานผลสอบโอเน็ต. สืบค้นจาก http://www.onetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx
สาคร บุญดาว. (2554). ประมวลชุดรายวิชาสารัตถะเเละวิทยาวิธีทางคณิตศาสตร์ หน่วยที่ 11: การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). กลยุทธ์ทางเลือกเพื่อพัฒนาวัฒนธรรมและสมรรถภาพการวิจัยและประเมินของครูมืออาชีพในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการขับเคลื่อนสู่โรงเรียนฐานความรู้ : การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัมพร ม้าคนอง. (2547). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อารีรัตน์ คำปาเชื้อ. (2552). รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาฝีมือแรงงานโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Macmillan, T. T. (1971). The Delphi Technique. Paper Presented at the annual meeting of the California Junior Colleges Associations Committee on Research and Development, Monterey, California.
Perry, L. J. (1993). ISO 900 Meeting the New International Standard. Singapore: McGraw-Hill.
Oliva, P. F. (1992). Developing the Curriculum (3rd ed). New York: Harper Collins.
Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcout, Brace & World.
Tyler, R. W. (1949). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago: The University of Chicago Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.