ผลการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
การละเล่นพื้นบ้านอีสาน, ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย, โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสาน โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัยชายและหญิง อายุ 4 - 5 ปี ที่กำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 82 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้วิธีการจับสลากเลือกมา 1 ห้องเรียนจาก 3 ห้องเรียน ทุกห้องเรียนมีลักษณะคล้ายคลึงกัน จำนวน 34 คน เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้โรงเรียนไม่สามารถเปิดเรียนแบบปกติได้ ปรากฏว่ามีผู้ปกครองและเด็กที่มีความพร้อมและสมัครใจเข้ามาร่วมกิจกรรมที่โรงเรียน จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 44.11 ของจำนวนเด็กที่กำหนดไว้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการวิจัยใช้การทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนการทดลองและหลังการทดลองตามแบบ One Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสาน 24 แผน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 4.53 และแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จำนวน 20 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67 – 1.00 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.38 – 0.74 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.22 – 0.63 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .995 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระจากกัน
ผลการวิจัย พบว่า หลังการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสาน เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กฤติกานต์ กาลมงคล. (2558). การใช้ชุดลูกเต๋าประกอบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, ลพบุรี.
กัลยา ตรีทิพยนันท์. (2557). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนพานพสกสวัสดิ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, เชียงราย.
เครือวรรธ์ ธารไสว. (2554). การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลชั้นปีที่ 2 โดยใช้การละเล่นของไทย (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ทิพวรรณ คันธา. (2542). การละเล่นพื้นบ้านของเด็กภาคอีสาน. นนทบุรี: ต้นอ้อ 1999.
นวพล นนทภา. (2561). การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เรื่องเชิงคณิตศาสตร์ตามทฤษฎีการเรียนรู้ของไวกอตสกี้ ที่มีการเสริมศักยภาพ เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
พรรณี นิลสุวรรณ์. (2555). การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้าน (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, สงขลา.
พิลารัตน์ คงนาค. (2556). การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบอุปกรณ์ (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
มนฤดี ยุตินาวา. (2554). ผลการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทยที่มีต่อความรับผิดชอบของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านรถไฟ จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
สถาบันราชานุกูล, กรมสุขภาพจิต, กระทรวงสาธารณสุข. (2557). การเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ในเด็กปฐมวัย (Pre – Math Skills). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุพิชชา ทับภูมิ. (2560). การเรียนรู้โดยการลงมือทำ. สืบค้นจาก http://supitcha044.blogspot.com/p/blog-page_12.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.