การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ จากการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเกมิฟิเคชัน เรื่อง รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก

ผู้แต่ง

  • ธนัญพร ปลูกชาลี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ต้องตา สมใจเพ็ง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ชนิศวรา เลิศอมรพงษ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน, เทคนิคเกมิฟิเคชัน, ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์, ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับอินโฟกราฟิกสำหรับพัฒนาการเรียนการสอน เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับอินโฟกราฟิก และ 3) พัฒนาการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับอินโฟกราฟิก กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กรุงเทพมหานคร จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เน้นการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับอินโฟกราฟิก สื่อการเรียนรู้แบบอินโฟกราฟิก เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.67-1.00 และแบบวัดการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ เป็นข้อสอบแบบอัตนัย จำนวน 4 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การคำนวณค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ  ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเกมิฟิเคชัน เรื่อง รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่ผู้วิจัยกำหนดไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 9.63 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 80.21 2) ความสามารถในการให้เหตุผล
ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเกมิฟิเคชัน เรื่อง
รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ย
7.25 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 90.63

References

ทรงชัย อักษรคิด. (2555). การแก้ปัญหาและการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการศึกษา สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นภาพร สว่างอารมณ์, ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี, และสุณิสา สุมิรัตนะ. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(2), 1-13.

วรรณวิสา สุวรรณชัยรบ, ต้องตา สมใจเพ็ง, และชานนท์ จันทรา. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับกลวิธีเชิงอภิปัญญาที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ความน่าจะเป็น. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(1), 214-228.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. (2563) แนวคิดการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้. สืบค้นจาก http:www.surin3.go.th/data/4758_แนวคิดการจัดกิจกรรม.pdf

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับประถมศึกษา. สืบค้นจาก https://www.scimath.org/ebook-mathematics/item/8378-2560-2551

สิทธิชัย สระตอมูฮัมหมัด. (2561). การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเกมมิฟิเคชัน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ.

สิริพร ทิพย์คง. (ม.ป.ป.). ทฤษฎีและวิธีการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุชัญญา เยื้องกลาง. (2560). การพัฒนาระบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้เกมิฟิเคชั่นเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์สู่ชีวิตจริงระดับประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

สุนันทา โสสีทา. (2555). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามขั้นตอนของ van Hiele โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad ช่วยในการเรียนรู้ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยมชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

อัมพร ม้าคนอง. (2559). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ : การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bonwell, C. C. & Eison, J. A. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. ERIC Digest. Washington D.C.: ERIC Clearinghouse on Higher Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-01

How to Cite

Share |