การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับอินโฟกราฟิก

ผู้แต่ง

  • ชยพล การะเกตุ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ชานนท์ จันทรา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ทรงชัย อักษรคิด คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, อินโฟกราฟิก, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์, การเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับอินโฟกราฟิกสำหรับพัฒนาการเรียนการสอน เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับอินโฟกราฟิก และ 3) พัฒนาการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับอินโฟกราฟิก ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบของกิจกรรมที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ มี 4 ลักษณะ คือ กิจกรรมเชิงสำรวจที่ให้นักเรียนค้นพบข้อสรุปที่เป็นความรู้ใหม่ด้วยตนเอง กิจกรรมเกมการแข่งขันเพื่อทบทวนการเรียนรู้ กิจกรรมที่ให้นักเรียนประยุกต์ใช้ความรู้เดิมมาเชื่อมโยงสู่แนวคิดการหาคำตอบของปัญหาใหม่ และกิจกรรมที่ให้นักเรียนประยุกต์ใช้ความรู้เดิมมาเชื่อมโยงสู่แนวคิดการสร้างสิ่งใหม่ 2) นักเรียนส่วนใหญ่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ หลังใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับอินโฟกราฟิก สูงกว่าเกณฑ์ 60% และ 3) นักเรียนส่วนใหญ่มีทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ หลังใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับอินโฟกราฟิกสูงกว่าเกณฑ์ 60%

References

จรรยา ดาสา. (2552). 15 เทคนิคในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนเชิงรุก. นิตยสาร สสวท, 36(163), 72-76.

ชุติวัฒน์ สุวัตถิพงศ์ และอุบล ทองปัญญา. (2563). การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุก. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 15(18), 23-33.

ดวงใจ แก้วสูงเนิน และวนินทร สุภาพ. (2559). การวิจัยปฏิบัติการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยปฏิบัติจริง เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. Life Sciences and Environment Journal, 17(1), 156-168.

น้ำมนต์ เรืองฤทธิ์. (2560). อินโฟกราฟิกกับการออกแบบการสอน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 15(2), 29-40.

พูลศรี ทองวิเศษ, ชนิศวรา เลิศอมรพงษ์, และชานนท์ จันทรา. (2562). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18(2), 197-206.

วาสุกรี แสงป้อม. (2558). การเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์เพื่อการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(4), 210-215.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2555). คุณภาพผู้เรียน เกิดจากกระบวนการเรียนรู้. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(2), 1-13.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรประเทศไทย.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 –2564. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี.

เสาวภา เพ็ชรรัตน์. (2560). บทบาทของห้องสมุดกับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning. วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ, 6, 1-18.

อัมพร ม้าคนอง. (2553). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-01

How to Cite

Share |