การพัฒนารูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเขตตรวจราชการที่ 13

ผู้แต่ง

  • สง่า จันทร์วิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สมบูรณ์ ตันยะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สงวนพงศ์ ชวนชม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การบริหารการประกันคุณภาพภายใน, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) เพื่อตรวจสอบความเป็นประโยชน์และความเป็นไปได้ของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น มีขั้นตอนการวิจัย ได้แก่ 1) ศึกษาสภาพการบริหารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ 8 แห่ง โดยเลือกแบบเจาะจง จังหวัดละ 2 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูหัวหน้างานประกันคุณภาพภายใน รวม 16 คน เก็บข้อมูลตามแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) พัฒนารูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และประเมินความเหมาะสมของรูปแบบด้วยวิธีสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน และ 3) ตรวจสอบความเป็นประโยชน์และความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยกลุ่มตัวอย่าง 102 คน ด้วยการสุ่มตามระดับชั้นในเขตพื้นที่การศึกษา 17 เขต เขตละ 3 แห่ง ตามขนาดสถานศึกษาเล็ก กลางและใหญ่

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการวางแผน การจัดการนำและการควบคุมองค์การสำหรับใช้ในการบริหารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) รูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตตรวจราชการที่ 13 ที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด  (gif.latex?\bar{X}= 4.88) มีความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.81) และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.70)

References

จาตุรงค์ สุขแก้ว, สงวนพงศ์ ชวนชม, สมบูรณ์ ตันยะ, และจำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์. (2564). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 ให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 8(1), 191-201.

ดนุภพ โพธิ์งาม. (2560). สภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

นัยนา ตันเจริญ. (2563). ศึกษารายกรณี : Case Study เรื่อง การยกระดับคุณภาพระบบประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1. นครราชสีมา: ม.ป.ท.

ระพีพร เอียงอุบล. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพภายในของศูนย์ฝึกอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพฯ.

ราเมศน์ โสมแสน, สำเริง บุญเรืองรัตน์, จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์, และสงวนพงศ์ ชวนชม. (2564). ตัวแปรที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 8(1), 115-124.

วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. (2555). เทคนิคการบริหารสำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991).

สมโภชน์ นพคุณ. (2556). เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรพัฒนานักบริหารการศึกษาระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ (นศส.ศธ.) วิชาการบริหารการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2. (2562). รายงานผลการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2. นครราชสีมา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2558). รายงานการสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม พ.ศ. 2554-2558 ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

สำนักทดสอบทางการศึกษา, สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). รายงานวิจัยเรื่องการขับเคลื่อนนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาสู่เขตพื้นที่การศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-01

How to Cite

Share |