การบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การประเมินคุณภาพผู้เรียนด้านคณิตศาสตร์ (NT) ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3

ผู้แต่ง

  • ระวีวรรณ เกตุมะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สถิรพร เชาวน์ชัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการ, การประเมินคุณภาพผู้เรียน(NT), คณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการและแนวทางการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การประเมินคุณภาพผู้เรียนด้านคณิตศาสตร์ (NT) ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออก 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การประเมินคุณภาพผู้เรียนด้านคณิตศาสตร์ (NT) ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 จำนวน 181 คน ซึ่งแบ่งเป็นผู้บริหาร จำนวน 89 คน และครู จำนวน 92 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของผู้บริหารและครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แต่ละอำเภอในสังกัด โดยใช้แบบสอบถามที่ได้จากการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาแนวทางทางการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การประเมินคุณภาพผู้เรียนด้านคณิตศาสตร์ (NT) ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ มีลักษณะเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา    

ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การประเมินคุณภาพผู้เรียนด้านคณิตศาสตร์ (NT) ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดและพัฒนาการเรียนรู้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการนิเทศการศึกษา 2. ผลการศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การประเมินคุณภาพผู้เรียน ด้านคณิตศาสตร์ (NT) ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 พบว่า ผู้บริหารและครูควรร่วมกันนำผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนด้านคณิตศาสตร์มาพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์การประเมินคุณภาพผู้เรียนด้านคณิตศาสตร์ (NT) มาวิเคราะห์ เปิดโอกาสให้ครูร่วมกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านคณิตศาสตร์ พร้อมทั้งพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยผู้บริหารส่งเสริม สนับสนุนครูในการใช้กระบวนการเรียนรู้ สื่อ เทคโนโลยีที่หลากหลาย รวมถึงการทำวิจัยในชั้นเรียนและการนิเทศเพื่อนำผลการนิเทศมาพัฒนาปรับปรุงวิธีการจัดการเรียนรู้ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์การประเมินคุณภาพผู้เรียนด้านคณิตศาสตร์

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). แนวปฏิบัติการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จิติมา วรรณศรี. (2563). นวัตกรรมสู่การพัฒนาสถานศึกษา. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2561). หลักการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญดา ยงยศยิ่ง. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3 (การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาลัยราชภัฏยะลา, ยะลา.

เบญจวรรณ ช่อชู และพร้อมพิไล บัวสุวรรณ (2563). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนวิชูทิศ สำนักงานเขตดินแดน สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 7(2), 162-174.

ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2562). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิสซัพพลาย.

ปรีดา บัวยก, สถาพร สังข์ขาวสุทธิรักษ์, และบรรจง เจริญสุข. (2564). รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารบัณฑิตวิจัย, 12(1), 15-29.

พรประภา ศิลารักษ์ และสถิรพร เชาวน์ชัย (2564). ความต้องการจำเป็นและแนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านการเขียนของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. วารสารศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 5(3), 95-109.

สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). คู่มือการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563. สืบค้นจาก https://www.kruachieve.com/ดาวน์โหลด/คู่มือการประเมินคุณภาพ/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-01

How to Cite

Share |