แนวทางการพัฒนาเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การจัดการศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • วันเพ็ญ ถวิลการ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ชัยยนต์ เพาพาน คณะครุศาสตร์ มหาวิยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, กระบวนทัศน์การจัดการศึกษา, ยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็น และแนวทางการพัฒนาเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การจัดการศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การจัดการศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การจัดการศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ จำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ PNImodified ระยะที่ 3 ศึกษาแนวทางการพัฒนาเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การจัดการศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 7 ด้าน 58 ตัวบ่งชี้ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น พบว่า สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความต้องการจำเป็นทุกด้าน และผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ การจัดการศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ พบว่า ประกอบด้วย 24 แนวทาง ผลการประเมินแนวทางจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ในระดับมาก

References

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2562). รวมบทความการบริหารการศึกษากับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สู่การศึกษาในยุคดิจิทัลชุดที่ 1. อุบลราชธานี: วิทยาการพิมพ์ 1973.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2561). ภาวะผู้นำทางการศึกษาและนวัตกรรมกาทางการบริหาร กระบวนทัศน์ใหม่ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เพ็ญจันทร์ สินธุเขต. (2560). การศึกษายุคนี้ (ยุคดิจิทัล) : Thailand 4.0. ครุศาสตร์วิจัย 2560 : นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง (หน้า 98-110). ลำปาง, ประเทศไทย.

รักษิต สุทธิพงษ์. (2560). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากับการพัฒนาครูไทยในยุคดิจิทัล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2), 344-347.

วราพร ศรีสุพรรณ. (2557). การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาสำหรับอนาคต. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(11), 265–280.

วิโรจน์ สารรัตนะ, พระครูสุธีจริยวัฒน์, พระครูธรรมาภิศมัย, พระมหาศุภชัยสุภกิจฺโจ, และวิทูลทาชา. (2559). นวัตกรรมกับกระบวนทัศน์การศึกษาศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 7(2), 268-283.

สมศรี เณรจาที. (2560). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะพึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 14(27), 10-20.

สนอง สุดสะอาด และศศิรดา แพงไทย. (2561). สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารโรงเรียนคุณภาพที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา. วารสารสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(Special), 150-159.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. (2563ข). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2563. กาฬสินธุ์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562 การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. (2563). รายงานผลการสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) รายสหวิทยาเขต (เอกสารประกอบการประชุมผู้บริหาร). กรุงเทพฯ : งานส่งเสริมและพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2.

ฮิวจ์ เดลานี. (2019). การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21: การพัฒนาทักษะคือหัวใจของการศึกษา. สืบค้นจาก https://www.unicef.org/thailand/th/stories/การศึกษาสำหรับศตวรรษที่21

Barr, R. B. & Tagg, J. (1995). From Teaching to Learning: A New Paradigm for Undergraduate Education. Change, 27(6), 20-24.

Cordell, R. (2013). Information Literacy and Digital Literacy: Competing or Complementary?. Communication in Information Literacy, 7(2), 177-183.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-01

How to Cite

Share |