ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี, การบริหารงานวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต 1 และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 การวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 จำนวน 97 คน 2) การหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีในการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษา จากการนำผลการศึกษาจากขั้นตอนที่ 1 มาหาแนวทางโดยใช้เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านความรู้ทางกฎหมายและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการจัดการและการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านการใช้เทคโนโลยีในการบริหารงาน ด้านความรู้ในการจัดการเทคโนโลยี ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน ด้านวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี และด้านการใช้เทคโนโลยีในการวัดและประเมินผลทางการศึกษา ตามลำดับ 2) ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษาพิจารณาเลือกคณะกรรมการสถานศึกษา ที่มีความรู้ความสามารถทางเทคโนโลยี มาร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการบริหารและพัฒนางานวิชาการในสถานศึกษา เข้าร่วมโครงการจัดอบรมพัฒนาตนเองด้านเทคโนโลยีและเรียนรู้รูปแบบการทำงานของเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่เสมอเพื่อนำมาจัดทำระบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ศึกษาดูงานการนำเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนจากโรงเรียนต้นแบบและนำมาปฏิบัติในสถานศึกษา มีการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีเพื่อกำหนดให้ครูและบุคลากรในสถานศึกษาดำเนินงานทางวิชาการผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีของสถานศึกษา อีกทั้งเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลทางเทคโนโลยี และผู้บริหารสถานศึกษาจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่ครู โดยนำกรณีตัวอย่าง บทบัญญัติและโทษทางกฎหมายที่เกิดจากการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญามาร่วมกันศึกษา เพื่อให้เกิดความตระหนักในการใช้เทคโนโลยีโดยคำนึงถึงหลักจริยธรรมและความถูกต้องตามหลักกฎหมายReferences
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2563-2565. สืบค้นจาก https://anyflip.com/drswa/avoy/basic/51-67
กฤติภัทรกร ศิริภัทรนิธิโภคิน, จรัส อติวิทยาภรณ์, และนิรันดร์ จุลทรัพย. (2564). การใช้เทคโนโลยีในการบริหารสถานศึกษาในยุควิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12 (หน้า 1344-1361). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สงขลา, ประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.hu.ac.th/conference/conference2021/Proceeding/doc/03%20ED/124-ED%20(P.1344%20-%201361).pdf
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท.
จิติมา วรรณศรี. (2563). นวัตกรรมสู่การพัฒนาสถานศึกษา. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์ 3.
เจษฎา ชวนะไพศาล. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตทวารวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
ชัญญาภัค ใยดี. (2561). การศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 8(1), 150-164.
ชัยนาม บุญนิตย์. (2563). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, อุตรดิตถ์.
ชูพงศ์ อยู่ภักดี และกฤษกนก ดวงชาทม. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วารสารบัณฑิตวิจัย, 12(1), 31-41.
ธนกฤต พราหมน์นก. (2559). รูปแบบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานโรงเรียนมัธยม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2562). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มีนเซอร์วิส ซัพพลาย.
สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน. (2563). วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายและยุทธศาสตร์. สืบค้นจาก http://www.techno.bopp.go.th/techno_2020/index.php?name=aboutus&file=vision
สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุนันทา สมใจ. (2561). การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(1), 350-363.
อดิศักดิ์ ดงสิงห์. (2560). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). สืบค้นจาก https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/52232/-edu-t2s1-t2-t2s3
ISTE. (2009). ISTE Standards for Administrators.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.