องค์ประกอบและตัวบ่งชี้สถานศึกษาที่มีประสิทธิผลในยุคความปกติใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตตรวจราชการที่ 13
คำสำคัญ:
สถานศึกษาที่มีประสิทธิผล, ยุคความปกติใหม่, องค์ประกอบและตัวบ่งชี้บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สถานศึกษาที่มีประสิทธิผลในยุคความปกติใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตตรวจราชการที่ 13 และ 2) ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้สถานศึกษาที่มีประสิทธิผลในยุคความปกติใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตตรวจราชการที่ 13 ผู้วิจัยดำเนินการวิจัย โดยการสังเคราะห์เอกสาร และการสนทนากลุ่มร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลของสถานศึกษา เพื่อกำหนดเป็นองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ประสิทธิผลของสถานศึกษาในยุคความปกติใหม่ นำมาสร้างเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ มีค่าความเชื่อมั่น 0.968 นำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตตรวจราชการที่ 13 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 450 แห่ง ที่ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วนจำนวนสถานศึกษาระดับประถมศึกษาของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษาในเขตตรวจราชการที่ 13 มีผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 1 คน คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา จากนั้นนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ด้วยวิธีการสกัดปัจจัย เพื่อพิจารณาจัดกลุ่มตัวแปรด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก และใช้วิธีการหมุนแกนแบบตั้งฉาก ด้วยวิธีหาองค์ประกอบเฉพาะ นำผลการวิเคราะห์ตัวบ่งชี้ที่ได้มาพัฒนาเป็นเครื่องมือใช้เก็บข้อมูลกับกลุ่มผู้รู้แจ้งชัด คือ ผู้บริหารสถานศึกษาจากสถานศึกษาที่ผ่านการประเมินโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รอบสี่ และ/หรือ ผู้บริหารสถานศึกษาจากสถานศึกษาที่เป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล และ/หรือ โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล และ/หรือ เป็นผู้บริหารสถานศึกษาจากสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลด้านการบริหาร ระหว่างปี พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน เช่น รางวัลพระราชทาน รางวัลอันทรงคุณค่า สพฐ. จำนวน 40 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยที่ได้ตามการแปรความหมายแบบอิงเกณฑ์ที่ระดับมาก ( = 3.51) โดยใช้สถิติ t-test เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้สถานศึกษาที่มีประสิทธิผลในยุคความปกติใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตตรวจราชการที่ 13 ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 33 ตัวบ่งชี้ และจากการนำตัวบ่งชี้ที่ค้นพบไปทดสอบกับกลุ่มผู้รู้แจ้งชัดพบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติทุกตัวบ่งชี้ สามารถยืนยันได้ว่าทั้ง 33 ตัวบ่งชี้ มีความเที่ยงตรงตามสภาพReferences
กระทรวงสาธารณสุข. (2565). สรุปข่าว สธ. ประจำวันที่ 30 กันยายน 2565. สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. https://pr.moph.go.th/_WEBADMIN/uploads/attfiles/yj7id5z01s0008swk.pdf
ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์. (2564). COVID-19 Education Disruption ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาอย่างไร?. กรุงเทพธุรกิจ. https://www.bangkokbiznews.com/columnist/966219
ณิชา พิทยาพงศกร. (2563). New normal ของการศึกษาไทยคืออะไร เมื่อการเรียนทางไกลไม่ใช่คำตอบ. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ. https://tdri.or.th/2020/05/desirable-new-normal-for-Thailand-education
ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18, 375-396.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2563). การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วย AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุทธชาต นาห่อม. (2564). การบริหารสถานศึกษาบนฐานความปกติใหม่. ใน Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward 2021. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14. (น. 1208-1217). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2563). การออกแบบการเรียนรู้ใน New Normal. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมสิริ รุ่งอมรรัตน์. (29 สิงหาคม 2564). พ่อแม่ ผู้ปกครอง : ปัจจัยสู่ความสำเร็จการเรียนออนไลน์ในช่วงโควิด-19. โพสต์ทูเดย์. https://www.posttoday.com/politic/columnist/661787
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง การกำหนดกลุ่มพื้นที่การศึกษา ประจำเขตตรวจราชการ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ. https://personnel.obec.go.th/home /wp-Content/uploads/2020/11/2.-ประกาศ-Cluster-63.pdf
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). สพฐ.แจงเลือกวิธีเรียนได้หลายแบบหากไม่พร้อมเรียนออนไลน์. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. https://www.obec.go.th/archives/377135
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณืการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับสรุป. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). มาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2564). พหุปัญญาบนฐานวิถีชีวิตใหม่สำหรับเด็กอนุบาล. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2564). แนวทางการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สำนักทดสอบทางการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ.
สุวิมล ติรกานันท์. (2553). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อำนวย ตามงาม และจุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์. (2565). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุค COVID 19. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(3), 105-115.
Abd-Rabo, A., & Hashaikeh, S. a. I. (2020). Assessing School Principals’ Perceptions of School Effectiveness in the Palestinian Schools. Universal Journal of Educational Research. 8(11), 5536-5546.
Bako, M. M., Okereke, V. E., & Sara, S.S. (2021). Assessment of the School Process Factors Affecting Plateau State Secondary Schools’ Effectiveness. Kashere Journal of Education. 2(1), 71-80.
Doran, J. A. (2004). Effective School Characteristics and Student’s Achievement Correlates as Perceived by Teachers in American Style International Schools. [Unpublished Doctoral Dissertation].University of Central Florida.
Edmonds, R. R. (1979). Effective Schools for the Urban Poor. Educational Leadership. 37(1), 15-27.
EDUCA. (2021). 7 Ways to Help Teachers Succeed when Schools Reopen. EDUCA. https://www.educathai.com/knowledge/articles/362?fbclid=%20IwAR2VlQDYmsV5kGvsHb5%20FnXAqZjjlFi6vz4ctTyHr1wYYNcPmFLsBG1HbO0
Hair, F. J., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Person Education.
Huber, S. G. & Helm, C. (2020). Covid-19 and Schooling: Evaluation, Assessment and Accountability in Times of Crises-Reacting Quickly to Explore Key Issues for Policy, Practice and Research with the School Barometer. Educational Assessment, Evaluation and Accountability, 32, 237-270.
Pek, L. S. & Mee, R. W. M. (2020). Parental Involvement on Childs Education at Home During School Lockdown. Journal of humanities and social studies, 4(2), 192-196.
Purkey, S. C., & Smith, M. S. (1983). Effective Schools: a Review. The Elementary School Journal. 83(4), 427–452.
Reezigt, G. J. (2001). A Framework for Effective School Improvement. [Research Report]. University of Groningen. https://cordis.europa.eu/docs/projects/files/SOE/SOE2972027/70595591-6_en.pdf
Saleem, F., Naseem, Z., Lbrahim, K., Hussain, & A., Azeem, M. (2012). Determinants of Schools Effectiveness: A Study of Punjab Level. International Journal of Humanities and social Science.
(14), 242-251.
Sammons, P., Hillman, J. & Mortimore, P. (1995). Key Characteristics of Effective Schools: A Review of School Effectiveness Research. [Research Report]. Institute of Education for the Office for Standards in Education. http://people.uncw.edu/kozloffm/effective%20schools.pdf
Scheerens, J. (2000). Improving School Effectiveness. UNESCO Digital Library. https://unesdoc.unesco.org/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.