ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นการทำงานเป็นทีมเพื่อพัฒนาการปรับตัวทางสัมพันธภาพกับเพื่อนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปัว จังหวัดน่าน
คำสำคัญ:
ชุดกิจกรรมแนะแนว, การทำงานเป็นทีม, การปรับตัวทางสัมพันธภาพกับเพื่อนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการปรับตัวทางสัมพันธภาพกับเพื่อนของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นการทำงานเป็นทีม 2) เปรียบเทียบการปรับตัวทางสัมพันธภาพกับเพื่อนของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นการทำงานเป็นทีมและนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวปกติ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจและข้อเสนอแนะต่อการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นการทำงานเป็นทีม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปัว จังหวัดน่าน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 2 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นการทำงานเป็นทีมเพื่อพัฒนาการปรับตัวทางสัมพันธภาพกับเพื่อน จำนวน 12 กิจกรรม ที่มีคุณภาพอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด 2) แบบวัดการปรับตัวทางสัมพันธภาพกับเพื่อน ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60 -1.00 และมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับ .81 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจและข้อเสนอแนะต่อการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.60 -1.00 และ มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับ .91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) หลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นการทำงานเป็นทีม นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนการปรับตัวทางสัมพันธภาพกับเพื่อนสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวมีคะแนนการปรับตัวทางสัมพันธภาพกับเพื่อนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นการทำงานเป็นทีมอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะต่อการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นการทำงานเป็นทีม คือ (1) เป็นกิจกรรมที่ดีสามารถนำมาใช้ได้จริงเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อน (2) บางกิจกรรมให้เวลาน้อยไม่เพียงพอต่อการทำกิจกรรม และ (3) ควรสำเนาเอกสารเป็นภาพสีเพื่อจะได้เห็นภาพชัดเจนขึ้น
References
กัญญาณัฏฐ์ ผ่านไกร. (2558). การใช้กิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความสามารถในการปรับตัวทางสังคม สำหรับนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. www.krubannok.com/board_view.php?b_id=133887&bcat_id=16
เขมณัฏฐ์ จันทรแสงนาวี. (2560). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียน เพื่อพัฒนาการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสฤษดิเดช จังหวัดจันทบุรี [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ฐพัชร์ คันศร, วีระชัย เตชะนิรัติศัย, อานนท์ สังขะพงษ์, นภาพร เหลืองมงคลชัย, ศิริลักษณ์ ชิ้นทอง และศิศศิประภา อาจนิมาตย์. (2563). ผลของโปรแกรมการฝึกสติแบบวิภาษวิธีต่อการปรับตัวของนิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 1. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(1), 348-353.
ธัญรดา แก้วกันหา และชุติมา สุรเศรษฐ. (2563). ผลของโปรแกรมการเปิดเผยตนเองที่มีต่อสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนและทักษะการทำงานแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา (OJED), 15(2), 1-16.
น้ำทิพย์ พรพัฒนานิคม. (2557). ผลของการใช้กิจกรรมแนะแนวตามหลักสารณียธรรม เพื่อพัฒนามนุษยสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนราชวินิตมัธยมกรุงเทพมหานคร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 2(2), 94-109
พัชรศรัณย์ ศิริพันธ์. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยบูรณาการกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างทักษะการปรับตัวในการดำรงชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 5(2), 137-138.
มลฤดี แพทย์ปฐม. (2558). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่มีต่อความสามารถในการบริหารเวลาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จังหวัดภูเก็ต [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วรรษา เฉลิมชัย, อุมาภรณ์ สุขารมณ, ภูริเดช พาหุยุทธ, และศรีสมร สุริยาศศิน. (2563). ผลของกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ต่อการเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของคณะกรรมการสภานักเรียน. วารสารรัชตภาคย์, 14(37), 188-203.
หนึ่งฤทัย มะลาไวย์, อรพินทร์ ชูชม, และนริสรา พึ่งโพธิ์สภ (2564). การทํางานเป็นทีมของนักเรียน: ปัจจัยเชิงสาเหตุข้อเสนอแนะในการวิจัย. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(3), 425-438.
Allan, U. S. (1989). Model for Hydrocarbon Migration and Entrapment within Faulted Structures. AAPG Bulletin, 73(7), 803-811.
Forsyth, D. A., Mundy, J. L., di Gesú, V., Cipolla, R., LeCun, Y., Haffner, P., . . . Bengio, Y. (1999). Object Recognition with Gradient-based Learning. Shape, Contour and Grouping in Computer Vision, 319-345.
Hurlock, E. B. (1964). Child Development. MaGrawHill.
Johnson, D. W. (1973). Interpersonal Skills for Cooperative Work. The Biennial Meeting of the Society for Research in Child Development, Philadelphia, Pennsylvania.
Johnson, R. (1986). A Triarchic Model of P300 Amplitude. Psychophysiology.
Woodcock, D., Crowther, P., Doherty, J., Jefferson, S., DeCruz, E., Noyer-Weidner, M., . . . Graham, M. (1989). Quantitative Evaluation of Escherichia Coli Host Strains for Tolerance to Cytosine Methylation in Plasmid and Phage Recombinants. Nucleic Acids Research, 17(9), 3469-3478.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.