รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1
คำสำคัญ:
รูปแบบการพัฒนา, ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) ประเมินรูปแบบในด้านความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยการสังเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ยืนยันองค์ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง แล้ววิเคราะห์เนื้อหาเพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 322 คน โดยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.60 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.98 ตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการพัฒนาการภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ร่างรูปแบบและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบด้วยการสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ และ ตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบในด้านความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 ด้าน ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ การคิดสร้างสรรค์ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม การพัฒนาด้านกลยุทธ์ และการบริหารความเสี่ยง โดยระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ภาพรวมอยู่ในระดับมาก องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ด้านการบริหารความเสี่ยง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ของรูปแบบ สาระสำคัญของรูปแบบ การนำรูปแบบสู่การปฏิบัติ และเงื่อนไขสู่ความสำเร็จของรูปแบบ โดยมีความเหมาะสม ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด องค์ประกอบของรูปแบบ ด้านเงื่อนไขสู่ความสำเร็จของรูปแบบ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และ 3) ผลการประเมินรูปแบบในด้านความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ พบว่า ด้านความเป็นไปได้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านความเป็นประโยชน์ โดยภาพอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กุลชลี จงเจริญ. (2561). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม หน่วยที่ 12 ชุดวิชา 23728 นวัตกรรมการบริหาร การศึกษา และภาวะผู้นำ [เอกสารประกอบการสอน]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เกรียงกานต์ กาญจนะโภคิน. (2561). ผู้นำด้านนวัตกรรม. http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/466874
ฐิตินันท์ นันทะศรี. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ธนกฤต โชติภักดีโภคิน. (2564). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศ ไทยในศตวรรษที่ 21 อาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
พรปวีณ์ ไกรบำรุง. (2564). รูปแบบการพัฒนาทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
พิจิตรา ธงพานิช. (2560). การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
พิรดา มาลาม. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัยธมศึกษา เขต 24 [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2554). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 3(6), 63-71.
สำนักงานศึกษาธิการภาค 10. (2563). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา (พ.ศ. 2563 – 2565) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1. สำนักงานศึกษาธิการภาค 10.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2562). ความมุ่งหมายและคําอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรชร ปราจันทร์. (2561) รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน [ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อนุสรณ์ นามประดิษฐ์, ชูชีพ พุทธประเสริฐ, ยงยุทธ ยะบุญธง, และมนต์นภัส มโนการณ์. (2562). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนในเครือสารสาสน์. วารสารพัฒนาบริหารศาสตร์, 59(1), 98-120.
Carmeli, A., Gelbard, R., & Gefen, D. (2010). The Importance of Innovation Leadership in Cultivating Strategic Fit and Enhancing Firm Performance. The Leadership Quarterly, 21(3), 339-349.
Keeves, J. P. (1992). The IEA Study of Science III. Pergamon Press.
Kemmis, S., & Keeves, J. P. (1988). Educational Research, Methodology and Measurement: An International Handbook.
Raj, M. (2002). Encyclopedic Dictionary of Psychology and Education. ANMOL.
Watt, D. (2002). How Innovation Occurs in High Schools within the Network of Innovative Schools: The Four Pillars of Innovation Research Project. The Conference Board of Canada.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.