การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล

ผู้แต่ง

  • อนุธิดา กลิ่นพิทักษ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • สุนทรี วรรณไพเราะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

การบริหารการเปลี่ยนแปลง, การรู้ของครู, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล ตามตัวแปร เพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล ปีการศึกษา 2566 จำนวน 346 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา จากนั้นสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับสลาก เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ

ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาระดับการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.4993 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.2609 โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านวัฒนธรรม ด้านเทคโนโลยี ด้านโครงสร้างและด้านคน โดยมีค่าเฉลี่ย 4.6993, 4.5228, 4.4902, 4.4431, 4.3412 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.4318, 0.3750, 0.4405, 0.3693, 0.4053 ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล จำแนกตามตัวแปร เพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดสถานศึกษา พบว่า ครูที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมแตกต่างกัน และครูที่มีอายุต่างกัน วุฒิการศึกษาต่างกัน ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่ต่างกัน และปฏิบัติงานในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวมไม่แตกต่างกัน

References

เจริญ ภูวิจิตร์. (2565). ภาวะผู้นำทางการศึกษาโลกยุคผันผวน. http://www.nidtep.go.th/2017/publish/doc/20220906-1.pdf

นครินทร์ ธิยะภูมิ, นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์ และสุรพงศ์ เอื้อศิริพรฤทธิ์. (2563). การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 12(2), 138–149.

นูรีดา แวนามะกัน. (2563). การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

รอฮิม สุหลง. (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ [การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

วีรยุทธ กองหล้า. (2565). การบริหารการเปลี่ยนแปลงของสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 [การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยพะเยา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปี 2565. https://spmsongkhlasatun.go.th/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. พริกหวานกราฟฟิค.

อภิชญา ใช้ไหวพริบ และทินกร พูลพุฒ. (2562). การบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอำเภอแม่วงก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ตามทัศนคติของครู. วารสารวิจยวิชาการ, 2(2), 69–88.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). หลักมนุษยสัมพันธ์กับการบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 3). ไทยวัฒนาพานิช.

Ahmad, M. A., Djamaluddin, P., & Khoirul, U. (2022). Change Management Framework: Development Curriculum of Islamic Education at School. Indonesian Journal of Education and Social Studies (IJESS), 1(1), 1–11.

Best, John W. (1977). Research in Education (3rd ed). Prentice Hall.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Peter, E., & Mikael, R. K. (2002). Change as Technology in a Swedish Secondary High School. Ethnography and Education, 17(2), 91–105.

Simranjeet, K. B., Shikha, G., & Syed, N. H. (2023). The Mediating Role of Organizational Culture: Transformational Leadership and Change Management in Virtual Teams. Asia Pacific Management Review, 28(2), 120–131.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-25

How to Cite

Share |