รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียน 2) สร้างและประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียน และ 3) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียน โดยระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน ระยะที่ 2 การสร้างและปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน และระยะที่ 3 การประเมินประสิทธิผลรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันภาวะผู้นำทางการเรียน การสอนของผู้บริหารโรงเรียน 2) แบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบและคู่มือรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียน และ3) แบบประเมินประสิทธิผลรูปแบบ การพัฒนาภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 17 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การกำหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลง องค์ประกอบที่ 2 การบริหารหลักสูตรการเรียนการสอน องค์ประกอบที่ 3 การสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 4 การพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ องค์ประกอบที่ 5 การพัฒนาศักยภาพของนักเรียนและองค์ประกอบที่ 6 การนิเทศและการประเมินผลการปฏิบัติการสอน ผลวิเคราะห์องค์ประกอบโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาศักยภาพของนักเรียน รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพและด้านการสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
- ผลการสร้างและปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียน พบว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก
- ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียน พบว่า โดยรวมทั้ง 6 องค์ประกอบอยู่ ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับผลการประเมินจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน และการพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ
คำสำคัญ : รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
ธีระ รุญเจริญ. (2555). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.นภดล ผดุงศรี. (2550). ภาวะผู้นำทางการเรียนของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี หนองคาย และหนองบัวลำภู. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
พัทธยา ชนะพันธ์. (2555). รูปแบบภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต). ม.ป.ท.: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
รุ่ง แก้วแดง. (2546). การประกันคุณภาพการศึกษา : ทุกคนทำได้ไม่ยาก. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
ลลิตา ชาเรืองเดช. (2555). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุภาภรณ์ กิตติรัชดานันท์. (2551). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). ม.ป.ท.: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุรีรัตน์ นนท์ตุลา. (2555). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต).
อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2549). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
Glickman, Carl, D., Gordon, Stephen P., and Ross-Gordon. Jovita M. (2001). Supervision and Instructional Leadership a Developmental Approach. Boston MA: Allyn and
Bacon.