แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนของจังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทรัพยากรทางการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมา ประการที่สอง เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดนครราชสีมา และ ประการที่สาม เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดนครราชสีมา โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากการเก็บรวบข้อมูลขั้นต้นหรือข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary) เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม (Field Research) โดยใช้แบบการตรวจสอบทรัพยากรการท่องเที่ยว (Tourism Resource Audit) และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In Depth) เป็นรายบุคคล โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) ร่วมกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) กับกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ตัวแทนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมา จากภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว ทั้งระดับผู้บริหารและระดับผู้ปฏิบัติการ จำนวน 25 คน
ผลการวิจัยพบว่าทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่นของจังหวัดนครราชสีมาที่นึกถึงเป็นอันดับแรกทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ทรัพยากรวัฒนธรรม ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ทรัพยากรมหกรรม เทศกาล และงานประเพณี ได้แก่ มหกรรมกีฬาแข่งขันฟุตบอลและวอลเลย์บอล ทรัพยากรกิจกรรม ได้แก่ ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ทรัพยากรบริการ ได้แก่ โรงแรม และรีสอร์ท 2) การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนของจังหวัดนครราชสีมา พบว่าจุดแข็ง คือ ที่ตั้งของจังหวัดนครราชสีมาไม่ห่างจากกรุงเทพมหานคร อีกทั้งมีความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม จุดอ่อน คือ ขาดยุทธศาสตร์ด้านการตลาดที่ดี โดยเฉพาะด้านการประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยว โอกาส คือ การที่จังหวัดนครราชสีมาเป็นพื้นที่ของโครงการด้านระบบโลจิสติกส์ที่สำคัญของประเทศ อุปสรรค คือ งบประมาณจัดสรรสำหรับการส่งเสริมด้านการท่องเทียวไม่เพียงพอ 3) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดนครราชสีมา อันเกิดจากการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยมีการบูรณาการมิติทั้ง 4 ด้าน อันได้แก่ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านวัฒนธรรมและจิตใจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ : แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จังหวัดนครราชสีมา
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร. (2559). นิตยสารหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา. (19 สิงหาคม 2559). “กอบกาญจน์” รมต.ท่องเที่ยวฯ แนะ “โคราชต้องรู้จักเล่าเรื่องว่ามีอะไรดีกว่าคนอื่นยังไง” ดันเมืองท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2560, จาก http://www.koratstartup.com/industry-tourism-korat/
จังหวัดนครราชสีมา. (2557). แผนพัฒนาจังหวัดนครราชสีมาระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2558-2561). สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2557, จาก http://www.nakhonratchasima.go.th/korat2528/
นิภารัตน์ สายประเสริฐ. (2553). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: เพรส แอนด์ ดีไซน์.
พยอม ธรรมบุตร. (2546). แบบการตรวจสอบทรัพยากรท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยว
เชิงอนุรักษ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
____________. (2546). แบบรายการตรวจสอบการศึกษาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
____________. (2546). เอกสารประกอบการเรียนการสอนหลักการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. กรุงเทพมหานคร:
สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภาดาวิดา รังสี. (2550). ความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐ เอกชน และชุมชนในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว
เชิงอนุรักษ์กรณีศึกษา บ้านแม่กำปอง กิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ รป.ม.,
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
มณีวรรณ พุทธเสถียร. (2548). ความต้องการของประชากรท้องถิ่นในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืนในอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ วท.ม., มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2554). CBTมีมิติ พื้นที่ทางสังคมของชุมชนในการกำหนดทิศทางการท่องเที่ยว
สร้างการเรียนรู้ระหว่างเจ้าของบ้านกับผู้มาเยือน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับบที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2556, จาก http://www.nesdb.go.th/Portals/0/news/plan/p11/SummaryPlan11_thai.pdf
สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด. (2555). แผนพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2557-2560). นครราชสีมา. (ถ่ายเอกสาร).
สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด. (2560). แผนพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564). นครราชสีมา. (ถ่ายเอกสาร).
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพมหานคร:
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
อโนชา พลทองมาก. (2553). การวิเคราะห์และการประเมินการเตรียมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
อิสระพงษ์ พลธานี. (2553). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนแบบบูรณาการของจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพน์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
เอกชัย บุญยาทิษฐาน. (2553). คู่มือวิเคราะห์SWOTอย่างมืออาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ปัญญาชน
The World Tourism Organization (UNWTO). (2011). Tourism Towards 2030 Global Overview.
Spain : The World Tourism Organization Design and Print.