ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นนราธิวาสร่วมกับกิจกรรมการแสดงดิเกร์ฮูลู เป็นสื่อพัฒนาการเขียนสรุปความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านกาลิซา จังหวัดนราธิวาส

Main Article Content

อังคณา ประกอบคดี

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเขียนสรุปความก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนบ้านกาลิซา อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส(2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนบ้านกาลิซา อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นนราธิวาสร่วมกับกิจกรรมการแสดงดิเกร์ฮูลูเป็นสื่อพัฒนาการเขียนสรุปความ


             กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559โรงเรียนบ้านกาลิซา อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาสจำนวน 30 คนได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม  เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นนราธิวาสร่วมกับกิจกรรมการแสดงดิเกร์ฮูลูเป็นสื่อการเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเขียนสรุปความ และแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


ผลการวิจัยปรากฏว่า(1) คะแนนผลสัมฤทธิ์การเขียนสรุปความหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นนราธิวาสร่วมกับกิจกรรมการแสดงดิเกร์ฮูลูเป็นสื่อการเรียนสูงกว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และดูผลการวิเคราะห์ข้อมูล (2) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นนราธิวาสร่วมกับกิจกรรมการแสดงดิเกร์ฮูลูเป็นสื่อการเขียนสรุปความ คือเห็นด้วยมากที่สุดทุกรายการ ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.92 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.30


คำสำคัญ  การเขียนสรุปความ ภูมิปัญญาท้องถิ่นนราธิวาสร่วมกับกิจกรรมการแสดงดิเกร์ฮูลู มัธยมศึกษา

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กมลพรรณ บินอิบรอฮีม.(2547).“ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นพัฒนาทักษะการเขียนสรุปความของนักศึกษาระดัประกาศนีย บัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1. สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม.(วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์ มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์)มหาวิทยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
กรมวิชาการ .(2546 ก.) .วิถีไหม่แห่งการเรียนรู้แบบร่วมมือ. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
การส่งเสริมครูภูมิปัญญาท้องถิ่นนราธิวาส.(2555).โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนภายใต้แผนปฎิบัติการไทยเข้มแข็ง. นราธิวาส. ม.ป.พ.
จุไรรัตน์ ลักษณะศิริและบาหยัน อิ่มสำราญ. (2553 ) . ภาษากับการสื่อสาร.กรุงเทพฯ : บริษัทพรีเฟรท จำกัด.
ชวลิต ชูกำแพง. (2551). การประเมินการเรียนรู้ . พิมพ์ครั้งที่ 2 . มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เนาวรัตน์ เจตดุ.(2555).การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสรุปความโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นไทยทรงดำ อำเภอเขาย้อยจังหวัดเพชรบุรีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โรงเรียนเขาย้อยวิทยาจังหวัดเพชรบุรี.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญชม ศรีสะอาดและคณะ.( 2551). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 4 กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
ประสงค์ โสมรัตนานนท์. (2543). “การใช้เพลงพื้นบ้านส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทย ” วารสารวิชาการ (7 กรกฎาคม 2543 ) หน้า 54 - 57.
ปราโมทย์ ไวยกูล . (2540). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 ที่สอนโดยใช้บทเพลงพื้นบ้านภาคกลางประกอบการสอนกับการสอนคู่มือครู.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร .
พรรณี ช.เจนจิต.(2538). จิตวิทยาการเรียนการสอน.กรุงเทพฯ : บิษัทคอมแพคท์พริ้นท์ จำกัด.
ฝ่ายวิชาการโรงเรียนบ้านกาลิซา. (2558). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2558.
วารสารรูสมีแล.(2555 ). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.ระบำพื้นบ้านภาคใต้ตอนล่าง,33(3),19-25.
สมใจ สมคิด.(2538). การใช้บทเพลงกล่อมเด็กภาคใต้ประยุกต์ พัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต แขนงวิชา
หลักสูตรและการสอนสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช .
สรวีย์ เคียนสันเทียะ. (2545). การใช้เพลงลูกทุ่งเป็นสื่อพัฒนาการเขียนสรุปความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อำเภอโนนไทยจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ .
สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้. (2529). สถาบันทักษิณคดี . กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์.
สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้. (2542). มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย.กรุงเทพฯ : ธนาคารไทยพาณิชย์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542).แนวทางส่งเสริมนำภูมิปัญญาไทยในการจัดการศึกษา.กรุงเทพฯ:พิมพ์ดี
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2543). หลักและวิธีสอนอ่านภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพานิช.
เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดนราธิวาส.(2542).คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. เนื่องในโอกาสพระ
พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรมพรรษา 6 รอบ.ม.ป.พ.