การเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการของ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาการเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 2)เพื่อเปรียบเทียบการเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทางการบริหาร และขนาดของโรงเรียนเพื่อหาแนวทางการพัฒนาการเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ การประเมินผลการปฏิบัติงาน การให้บำเหน็จความชอบ การจัดสวัสดิการ และการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลา
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือผู้บริหารสถานศึกษา หรือรองผู้บริหารสถานศึกษา และหัวหน้าฝ่ายหรือหัวหน้ากลุ่มงาน ทั้ง 4 กลุ่มงาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2557 จำนวน 155 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ข้อมูลความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัย พบว่า
- การเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดตามลำดับ คือด้านการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลา รองลงมาคือด้านการจัดสวัสดิการ ด้านการให้บำเหน็จความชอบ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน
- การเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทางการบริหารและขนาดโรงเรียนของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยภาพรวมไม่แตกต่าง
ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการเสริมสร้าง ดังนี้ 1) ควรมีการนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน 2) ควรมีการประชุมคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาการให้บำเหน็จความชอบ จากการมีส่วนร่วมในการทำงาน 3) ควรมีการส่งเสริมให้ครูศึกษาต่อทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อฝึกอบรมและพัฒนาตนเอง 4) ควรมีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อตรวจสอบประวัติและคุณสมบัติก่อนเสนอขอพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลา
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
ฉัตรชัย เทพขจร. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรมการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ปทุมธานีเขต 1
และเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ราชกิจจานุเบกษา. (2547). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547(ออนไลน์).(อ้างเมื่อ12พฤศจิกายน2556) http://www.ratchakitcha.soc.go.th
โสภณ สวยขุนทด. (2558).การบริหารงานบุคคลด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการกับสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10 (2), 165-175.
เสนาะ กุลสท้าน. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 27,วารสารบัณฑิตศึกษา ปีที่ 11 ฉบับที่ 54 (กรกฏาคม – กันยายน2557) : 173 – 179.
เสนาะ ติเยาว์. (2539) การบริหารงานบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2553). เอกสารประกอบการประชุมประจำปี 2553 ของ สศช. เรื่อง ทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11. ม.ป.ท.:ม.ป.พ..
องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ. (2556). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา พ.ศ. 2553-2557 (ฉบับทบทวน). ศรีสะเกษ: ศรีสะเกษไฮเทค.
Krejcie, R. V ., and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychological Measurement.30 (3),607-610.
Kusumoto. Y. (2003).Needs Analysis: Developing a teacher Training Program for Elementary School Homeroom Teachers in Japan. Honolulu: University of hawaii at manoa.