การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้แผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

นงค์นุช นามวิชัย

บทคัดย่อ

การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้แผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ  1)พัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้แผนผังความคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์   80/80  2)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องการเขียนเชิงสร้างสรรค์  โดยใช้แผนผังความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้แผนผังความคิด กลุ่มตัวอย่างได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โรงเรียนพอก  จํานวน  32  คน ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา 2559  ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple  Random  Sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  1) แบบฝึกทักษะการเขียน เชิงสร้างสรรค์ รวม 12 แบบฝึก มีค่าความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน     มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ 0.84  และ  3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะโดยใช้แผนผังความคิด ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ(gif.latex?\alpha) เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกทักษะ การเขียนเชิงสร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โดยใช้แผนผังความคิด  จำนวน 12 ชุด มีประสิทธิภาพ 88.62/86.22 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด  อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\dpi{120}&space;\fn_cm&space;\bar{x} = 4.59 , S.D = 0.21 )


คำสำคัญ :การพัฒนาการเขียน,การเขียนเชิงสร้างสรรค์, แบบฝึกทักษะ, แผนผังความคิด

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กรมวิชาการ.(2545) คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่ง สินค้าและพัสดุภัณฑ์.
________. (2544) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและ พัสดุภัณฑ์.
ชุติพันธ์ นามท้าว (2550) การพัฒนาชุดฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย มหาสารคาม,
ชูศรี พิทักษ์ (2553 ) การพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ชุดฝึกแบบอเนกอนัย กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย มหาสารคาม,
เนาวรัตน์ ชื่นมณี.(2540). การพัฒนาแบบฝึกการเขียนสะกดคำยาก เรื่อง เป็ดหาย สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์ กศม., มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,
เรืองรัตน์ โคสะสุ (2551 ) การพัฒนาชุดฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านนาเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,
วรรณี โสมประยูร. (2542) การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.(2552) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย.
สุรีพร เอี่ยมประโคน. (2551). การพัฒนาการเขียน เขียนเชิงสร้างสรรค์วิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Chan,Si and Zhou,Jing. (2010) “Creative Writing Strategies of Young Children : Evidence From a Study of Chinese Emergent Writing ” Asian Perspectives.5(3); 138 – 149, December
Hazel,Smith. (2006) “Emerging from the Experiment : A Systematic Methodology for Creative Writing” The international for practice 3(1) ; 17-34 : Janeuary.Cliffs, N.J. : Prentice Hall,
Timothy N. Atkinson. (2008). “ The Effect of creative Writing Activitices on the Story Writing skill” Educational Sciences : Theory and Practie.8(2) : 564 – 588i September.
Temizkan.,Mehmet. (2008). “The Effect of Writing Actvitices on the Story Writing skill,” Education Sciences : Theory and Practice,11(2) : 564 – 588;September.