ความสัมพันธ์ของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการดำเนินการการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหาร งานบุคคลของโรงเรียน และ 3) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จำนวน 152 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
ผลการวิจัย พบว่า
1) โรงเรียนดำเนินการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ทั้งด้านการมีภาวะผู้นำแบบเกื้อหนุน ด้านการกระจายอำนาจ ด้านความพร้อมที่จะรับการตรวจสอบ ด้านการพัฒนาทั้งระบบ ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม และด้านการบริหารตนเอง ตามลำดับ
2) การบริหารงานบุคคลมีประสิทธิภาพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ทั้งด้านวินัยและการรักษาวินัย ด้านการพ้นจากตำแหน่ง/ด้านการเลื่อนระดับ ด้านการบรรจุและแต่งตั้ง ด้านเลื่อนขั้นเงินเดือน ด้านการสรรหาและคัดเลือก และด้านการกำหนดจำนวนและอัตราตำแหน่ง
3) การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
ขวัญชัย จะเกรง. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 3-4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทร์. (2542). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: เม็ดทรายพริ้นติ้ง.
พิทยา ศรสุวรรณ. (2550). การบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนในสังกัด เทศบาลนครเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). ม.ป.ท.: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
วันชัย พงษา.(2551). การศึกษาการปฏิบัติงานบริหารจัดการภารกิจ 4 งานตามแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). ม.ป.ท.: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
สถาบันการพัฒนาผู้บริหารการศึกษา. (2548). หลักการจัดการศึกษายุคใหม่. กรุงเทพฯ: สถาบัน
การพัฒนาผู้บริหารการศึกษา.
สมเดช สีแสง. (2543). คู่มือปฏิบัติราชการและเตรียมสอบผู้บริหารการศึกษา. ชัยนาท: เรียนดี.
อรพรรณ พรสีมา. (2545). รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน : ตัวอย่างประสบการณ์ที่ คัดสรรโรงเรียนในโครงการโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
Charles, Harrigan. (2006). School-based management: A Study of its impaction student achievement in Title I school. California: Fielding Graduate University
Cheng, Y. C.(1996). School Effectiveness and School-Based Management : A Mechanism for Development. London : the Flamer Press.
Davis, G. A. and Thomas, M. A. (1989). Effective School and Effective Teachers. Boston :Allynand Bacon.
Priscilla Wohlstetter. (1995). Getting School-Based Management Right. Phi delta Kappa, 77, 1(September), 34.
Ranyon, R. P. (1991). Fundamental of behavioral statistics. New York: McGraw-Hill.
Rideout, Srederick David. (1997). School-Based Management for small School in Newfoundland and Labrador. Dissertation Abstract International, 57(8), 56.