การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28

Main Article Content

ณัฐพล บำรุงเกตุอุดม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 จำแนกตาม วุฒิการศึกษา  อายุ  ประสบการณ์ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา และขนาดของสถานศึกษา และเพื่อหาแนวทางจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28


              กลุ่มตัวอย่างจำนวน 122 คน เป็นผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ t-test และ F-test วิเคราะห์ข้อมูลจากคำถามปลายเปิดข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการความขัดแย้ง


              ผลการวิจัยพบว่า


  1.    ผู้บริหารสถานศึกษา โดยใช้ขัดแย้ง รูปแบบการประนีประนอม รูปแบบการบูรณาการ  รูปแบบการร่วมมือ  รูปแบบการยอมให้  รูปแบบการหลีกเลี่ยง  และรูปแบบการเอาชนะ ตามลำดับ

  2.    ผลการเปรียบเทียบการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 จำแนกตามวุฒิการศึกษา  อายุ  ประสบการณ์ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา และขนาดของสถานศึกษา  

      2.1 ผู้บริหารที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรีและวุฒิการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีการจัดการความขัดแย้งรูปแบบการเอาชนะ รูปแบบการร่วมมือ รูปแบบการประนีประนอม รูปแบบการหลีกเลี่ยง รูปแบบการยอมให้ และรูปแบบการ บูรณาการ ไม่แตกต่างกัน


     2.2 ผู้บริหารที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี อายุ 40-50 ปี และอายุมากกว่า 50 ปี มีการจัดการความขัดแย้งรูปแบบการเอาชนะ รูปแบบการร่วมมือรูปแบบการประนีประนอม  รูปแบบการหลีกเลี่ยง  รูปแบบการยอมให้  และรูปแบบการบูรณาการ ไม่แตกต่างกัน


                  2.3 ผู้บริหารที่มีประสบการณ์การดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาน้อยกว่า 5 ปี ประสบการณ์ 5-10 ปี และ มากกว่า 10 ปี มีการจัดการความขัดแย้งรูปแบบการเอาชนะ รูปแบบการร่วมมือ รูปแบบการประนีประนอม รูปแบบการหลีกเลี่ยง รูปแบบการยอมให้ และรูปแบบการบูรณาการ ไม่แตกต่างกัน


                  2.4 ผู้บริหารที่ดำรงตำแหน่งในสถานศึกษาขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และขนาดใหญ่พิเศษ  มีการจัดการความขัดแย้งรูปแบบการเอาชนะ รูปแบบการร่วมมือ รูปแบบการประนีประนอม รูปแบบการหลีกเลี่ยง รูปแบบการยอมให้ และรูปแบบการบูรณาการ ไม่แตกต่างกัน


  1.        ผู้บริหารสถานศึกษาควรใช้วิธีการจัดการความขัดแย้งแบบประนีประนอม แบบร่วมมือ และแบบบูรณาการ และควรหลีกเลี่ยงการใช้วิธีแบบเอาชนะเป็นแนวทางในการจัดการความขัดแย้ง

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

โกสินทร์ รังสยาพันท์. (2530). ปรัชญาและคุณธรรมสำหรับครู. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมศาสนา.
จักรกฤษณ์ สำราญใจ. (2545) . การวิจัยพื้นฐาน . สถาบันราชภัฎลำปาง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จันทร์สมุทร.
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2550). การจัดการความขัดแย้งในองค์กร. กรุงเทพฯ: เอ็กซ์เปอร์เน็ท.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และฉัตยาพร เสมอใจ. (2547). การจัดการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ณรงค์ กังน้อย. (2545). ยุทธวิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการ
ประถมศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันราชภัฏนครปฐม.

พนัส หันนาคินทร์. (2542). หลักการบริหารโรงเรียน. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช
รัชนีกร ชุมนูรักษ์. (2550). ผู้นำกับการบริหารความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์. วารสารวิจัย มสด.3(2)
รังสรรค์ เหมันต์. (2546). การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการ
ประถมศึกษา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม (สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต
สาขาการบริหารการศึกษา). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัชรพล มนตรีภักดี. (2549). พฤติกรรมความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา
เชียงใหม่ เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่:
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศจี อนันต์นพคุณ. (2542). กลวิธีการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ. สงขลา : ชลบุตรกราฟฟิก.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุกานดา แสงเดือน. (2546). Management cook book (Revised edition). กรุงเทพฯ : ตะวันออก
จำกัด (มหาชน).
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2540). การบริหารความขัดแย้งเพื่อความสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ตะเกียง