การพัฒนาทักษะการเขียนเรียงความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิทยาลัย พระบาทนโรดม จังหวัดไปรแวง ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์

Main Article Content

Chan Pisoth

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิทยาลัย พระบาทนโรดมโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 75 2) เปรียบเทียบทักษะการเขียนเรียงความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิทยาลัย  พระบาทนโรดม โดยการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ กับการเรียนรู้ตามแบบปกติ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิทยาลัย พระบาทนโรดม ราชอาณาจักรกัมพูชา ที่ได้รับจากการพัฒนาทักษะการเขียนเรียงความ โดยใช้แบบการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์  ผลการวิจัยพบว่า1) ทักษะทางการเขียนเรียงความของนักเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานตั้งไว้ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  2) ทักษะการเขียนเรียงความของนักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ สูงกว่านักเรียนที่เรียนรู้ตามแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ระดับ .01 3) นักเรียนที่พัฒนาทักษะเขียนเรียงความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.48, S.D. = 0.57)

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงอบรม เยาวชน และกีฬา .(2553). บทปาฐกถาในงานปฐมนิเทศปีการศึกษา 2010–2011. พนมเปญ: กระทรวงอบรม.
__________.(2557). แผนยุทธศาสตร์ด้านการบริหารการศึกษา. พนมเปญ: กระทรวงอบรม เยาวชนและกีฬา.
__________. (2558). แผนการพัฒนาอาชีวศึกษาสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. พนมเปญ :กระทรวงอบรม เยาวชนและกีฬา.
กองเทพ เคลือบพณิชกุล. (2542). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
เกศมณี คันธภูมิ. (2550). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเขียนเรียงความด้วยกลุ่มร่วมมือโดยใช้แผนผังความคิดชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหา บัณฑิต). ม.ป.ท.: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ดวงเดือน อ่อนน่วม. (2535). การสร้างเสริมสมรรถภาพการสอนคณิตศาสตร์ของครูประถมศึกษา.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เตือนใจ แสงไกร. (2549). การพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยด้วยกระบวนการกลุ่มที่ใช้แผนผังความคิด. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). ม.ป.ท.: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ผุสรัตน์ อภิชัย. (2556). การพัฒนาทักษะการเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ด้วยวิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณพิต). ม.ป.ท.: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
ภาคภูมิ หรรนภา. (2548). การเขียนเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: เอมพันธ์.
วรรณ แก้วแพรก. (2543). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
วรรณี โสมประยูร. (2544). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:
ไทยวัฒนาพานิช.
หง จูนณารุน. (2559). การสอบระดับชาติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายปีนี้. บทสัมภาษณ์ 26 สิงหาคม 2016 จาก https://thmeythmey.com/
Honey, P., & Mumford, A. (1992). The manual of learning styles. 2nd ed. Maidenhead : UK. Peter Honey and Alan Mumford.
Knowes. (1977). Self-directed Learning. A Guide for Learners and Teacher. New York: Association Press.
White, Freed D. (1983). The Writer’s Art. California: Wadsrorth Publishing.