การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ โดย จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สำหรับประชาชน จำนวน 376 ชุด ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตร ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ F-test
ผลวิจัยพบว่า
- ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 56 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับประถมศึกษา และประกอบอาชีพเกษตรกรรม การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ โดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลาง
- ประชาชนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ มีระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ โดยรวมไม่แตกต่าง
- ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ด้านการตัดสินใจ มีความเห็นว่า การบริหารงานสาธารณะของประชาชนตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ควรมีการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุดเนื่องจากประชาชนทราบถึงปัญหาและความต้องการของพื้นที่ โดยควรมีการออกดำเนินงานจัดทำแผนปฏิบัติการของชุมชน เพื่อรับทราบปัญหาและกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ด้านการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ปัญหา เพื่อพัฒนาการบริหารงานสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานมากยิ่งขึ้น ด้านการรับผลประโยชน์ ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า การรับผลประโยชน์จากการบริหารงานสาธารณะของประชาชนตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัด ศรีสะเกษ ประชาชนได้รับประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเต็มที่ เช่น ถนน ไฟฟ้า ประปา และสิทธิอื่นๆ แต่ควรส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้าถึงสิทธิต่างๆเพิ่มขึ้น เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เป็นต้น และด้านการติดตามประเมินผล ส่วนใหญ่เห็นว่าต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามผลตรวจสอลการทำงานของ อบต.หนองไผ่ เพื่อให้มีความชัดเจนและโปร่งใสในการทำงาน
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
โกวิทย์ พวงงาม.(2549). รายงานการวิจัยการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็น เลิศด้านความ
โปร่งใสและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำปี 2549. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า.
เชียรทอง ทองนุ่น. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลผาจุก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบทมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ธีระยุทธ สุดเสมอใจ. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของ องค์การบริหาร
ส่วนตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์, อุตรดิตถ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พิเชษฐ์ โพดาพล. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลสระนกแก้ว อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมศรี ฉลาดเฉลียว. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย. (1) 12, 38.
Boonprasert, U.(1978). A Comprehensive Model for Higher Education Institutional Planning in.
Thailand: The Case of Chulalongkorn University. Dissertation in the School
of Education, University of Pitsburgh.
Brown, W.B., and Mobreg, D.J. (1980). Organization Theory and Management : A macro
Approach. New York : John Wiley and Sons.
Willer, D. (1986). Scientific Sociology : Theory and Method. New Jersy : Prentice Hall.