การสร้างแบบวัดทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28

Main Article Content

ชนกนันท์ พลภักดี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สามประการ คือ เพื่อสร้างแบบวัดทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย   เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดทักษะชีวิตที่สร้างขึ้น ในประเด็นของค่าอำนาจจำแนก ความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่น และเพื่อศึกษาระดับทักษะชีวิตของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย


              กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 (จังหวัดศรีสะเกษและยโสธร) ประเภทโรงเรียนที่เป็นสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2560   จำนวน 400   คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดทักษะชีวิต ซึ่งแบ่งเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามสถานภาพผู้ตอบ  ตอนที่ 2 วัดทักษะชีวิตด้านการคิดวิเคราะห์และด้านความคิดสร้างสรรค์  เป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ ชนิดเลือกตอบ 5 ตัวเลือก และตอนที่ 3 วัดทักษะชีวิตด้านความตระหนักรู้ในตนเอง ด้านความเห็นใจผู้อื่น  ด้านความภูมิใจในตนเอง ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านการสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสาร  ด้านการตัดสินใจและการแก้ปัญหา และด้านการจัดการอารมณ์และความเครียด  เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งการทดลองครั้งที่ 1 กับจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 100  คน เพื่อหาคุณภาพด้านอำนาจจำแนกและความเชื่อมั่น การทดลองครั้งที่ 2 กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน หาความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง และแปลระดับทักษะชีวิต โดยใช้สูตรค่าเฉลี่ย


              ผลการวิจัยพบว่า


  1. แบบวัดทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย วัดองค์ประกอบทักษะชีวิต 9 ด้าน มีข้อคำถามจำนวน  42 ข้อ แบ่งเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ ชนิดเลือกตอบ 5 ตัวเลือก จำนวน 6 ข้อ ประกอบด้วยทักษะชีวิต 2 ด้าน คือ ด้านการคิดวิเคราะห์ 3 ข้อ ด้านความคิดสร้างสรรค์ 3 ข้อ และแบบวัดแบบมาตรประมาณค่า  5 ระดับ จำนวน 36 ข้อ ประกอบด้วยทักษะชีวิต 7 ด้าน คือ ด้านความตระหนักรู้ในตนเอง  3 ข้อ ด้านความเห็นใจผู้อื่น  4 ข้อ ด้านความภูมิใจในตนเอง 7 ข้อ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม 4 ข้อ ด้านการสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสาร 3 ข้อ ด้านการตัดสินใจและการแก้ปัญหา 12 ข้อ และด้านการจัดการอารมณ์และความเครียด 3 ข้อ

  2. คุณภาพของแบบวัดทักษะชีวิต ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ  ค่า t  >1.75 (1.85 – 11.04) ค่าความเชื่อมั่นรายด้านอยู่ระหว่าง 0.59 – 0.87  ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.86   ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า ไค –สแควร์ ( gif.latex?^{X}2 )  เท่ากับ  762.92 ค่า ไค-สแควร์สัมพัทธ์ ( gif.latex?^{X}2/df) เท่ากับ 1.01 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI)  เท่ากับ 0.92  ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับค่าแล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.90และค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) เท่ากับ 0.00

  1. ผลการศึกษาระดับทักษะชีวิตของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 พบว่า มีทักษะชีวิตทั้ง 9 ด้าน อยู่ในระดับค่อนข้างสูง  โดยเรียงลำดับทักษะชีวิตที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้ คือ  ด้านความคิดสร้างสรรค์  ด้านความเห็นใจผู้อื่น ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านการจัดการอารมณ์และความเครียด  ด้านความภูมิใจในตนเอง  ด้านความตระหนักรู้ในตนเอง ด้านการตัดสินใจและการแก้ปัญหา ด้านการคิดวิเคราะห์ ด้านการสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสาร โดยมีค่าเฉลี่ย 4.43  4.24  4.20  4.03  3.98  3.90  3.79  3.76  และ  3.69  ตามลำดับ

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555).การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS.
พิมพ์ครั้งที่ 13.กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล : สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
นฐมล สาดบางเคียน. (2556). การพัฒนาเครื่องมือการวัดทักษะชีวิตตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
ปราจิตร คำธะณี. (2557). การสร้างแบบวัดทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์- ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ไพ สระแก้ว. (2555). การสร้างแบบวัดทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ไพศาล วรคำ. (2555). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. มหาสารคาม: ตักศิลาการพิมพ์.
มนลดา กล่อมแก้ว. (2555). การสร้างแบบวัดทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย.(วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สายหยาด จันทร์คูเมือง. (2554). การสร้างแบบวัดทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สุวรรณนี พันธ์เลิศ. (2554). การสร้างแบบวัดทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานประถมศึกษายโสธร เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). การเสริมสร้าง “ทักษะชีวิต” ตามจุดเน้นการพัฒนา
คุณภาพผู้เรียน ระดับประถมศึกษา – มัธยมศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). การพัฒนาทักษะชีวิตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภา.
Zippora,Shechtman;Merav,Levy;&Judy, Leichtentritt. (2005).“Impact of Life Skills Training
on Teacher’s Perceived Environment and Self-Efficacy,”Journal of Educational
Research. 98(3):54-144.Retrieved October 30,2016,from
http://www.vnweb.hwwilsonweb.com/hww/ results/results_single_fulltext.jhtml?_D