กระบวนการสร้างสรรค์ลายดนตรีพื้นบ้านอีสานของ นายทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์

Main Article Content

พุฒธิพงษ์ พาหา

บทคัดย่อ

บทความเรื่องกระบวนการสร้างสรรค์ลายดนตรีพื้นบ้านอีสานของนายทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องกลวิธีการดีดพิณอีสาน กรณีศึกษานายทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ลายดนตรีพื้นบ้านอีสานของ นายทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ พบว่า นายทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ มีกระบวนการสร้างสรรค์ 3 ขั้นตอนคือ ความเป็นมาและแรงบันดาลใจ แนวคิด และวิธีการสร้างสรรค์ ด้านความเป็นมาและแรงบันดาลใจเกิดจากการสังเกตธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาศัยแนวคิดโครงสร้างลายโบราณดั้งเดิม และเพลงลูกทุ่ง ประกอบด้วย จังหวะ ทำนอง และกระบวนการทดสอบ นำมาประกอบกับจิตนาการบวกกับความรู้ทางดนตรีพื้นบ้านอีสานสามารถสร้างสรรค์การบรรเลงพิณ 3 ลาย ได้แก่ 1. การเดี่ยวพิณลายผู้เฒ่าหัวตกหมอน 2. ลายบรรเลงรวมวง ลายลำเพลินแก้วหน้าม้า และ3. ลายบรรเลงประกอบการแสดงชุดฟ้อนดึงครกดึงสาก โดยมีวิธีการสร้างสรรค์ประกอบด้วยจังหวะ ทำนอง อารมณ์ และความสุนทรีย์ทางด้านดนตรี ใช้การดีดแล้วฟังพร้อมกับทดสอบการบรรเลงสามารถประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ลายดนตรีพื้นบ้านอีสานต่อไป

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

สุจริต บัวพิมพ์. (2542). “แนวคิดในการอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปะการละเล่นและการแสดงพื้นบ้านของไทย”. ในประมวลสาระชุดวิชา ศิลปะ การละเล่น และการแสดงพื้นบ้านของไทย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศิลปะศาสตร์.
ชุมเดช เดชภิมล. (2531). ภาพสะท้อนชีวิตของชาวอีสานจากหมอลำ.กรุงเทพฯ: กรุงเทพการพิมพ์.
โยธิน พลเขต.(2550) คู่มือศึกษาดนตรีพื้นบ้านอีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
สงัด ภูเขาทอง. (2541). ดนตรี : ภาพสะท้อนของชีวิตมนุษย์.”วารสารสุโขทัยธรรมมาธิราช ดนตรี...สุนทรีย์แห่งชีวิต ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2541)
(2532). การดนตรีไทยและทางเข้าสู่ ดนตรีไทย. กรุงเทพมหานคร : เรือนแก้วการพิมพ์.
ไพบูลย์ ตรีเดช. (2523). การศึกษาเจตคติดนตรีพื้นบ้านอีสานของนักศึกษาวิทยาลัยครูภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.