การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัย วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) สร้างและหาคุณภาพแบบทดสอบวินิจฉัยในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 2) ศึกษาข้อบกพร่องในการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 จำนวน 353 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการสร้างและหาคุณภาพของแบบทดสอบวินิจฉัย วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร จำนวน 10 ข้อ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 ความยากมีค่าตั้งแต่ 0.54 ถึง 0.64 อำนาจจำแนกมีค่าตั้งแต่ 0.55 ถึง 0.84 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.78 ฉบับที่ 2 เรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร จำนวน 20 ข้อ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.80 ความยากมีค่าตั้งแต่ 0.54 ถึง 0.66 อำนาจจำแนกมีค่าตั้งแต่ 0.42 ถึง 0.62 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 และฉบับที่ 3 เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร จำนวน 15 ข้อ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 ความยากมีค่าตั้งแต่ 0.49 ถึง 0.61 อำนาจจำแนกมีค่าตั้งแต่ 0.50 ถึง 0.71 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81
- ผลการวิเคราะห์หาข้อบกพร่องในการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 พบว่า มีความบกพร่องมากที่สุดในเรื่อง ขาดความรู้เบื้องต้นในการนำคู่อันดับไปแทนค่า ขาดความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นในการแก้ระบบสมการ และขาดความระมัดระวังในการตอบ
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กรุงเทพมหานคร: กระทรงศึกษาธิการ.
กลุ่มงานนิเทศและติดตามผล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. (2559).
สรุปผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) ปีการศึกษา 2559.
เกียรติสุดา ศรีสุข. (2545). เทคนิคการสร้างแบบทดสอบวินิจฉัย. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ขวัญใจ สายสุวรรณ. (2554). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง
เลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต วิจัยและ
ประเมินผลการศึกษา). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ชวาล แพรัตกุล. “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน,” พัฒนาวัดผล. 7 : 2-16 ; กรกฎาคม, 2520.
โชติ เพชรชื่น. (2544, เมษายน). แบบทดสอบวินิจฉัย. สารานุกรมศึกษาศาสตร์. 23, 7-11.
ญาณัจฉรา สุดแท้. (2551). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1(วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด (2541. การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
. (2553). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ไพศาล วรคำ. (2555). การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). มหาสารคาม: ตักศิลาการพิมพ์.
มยุรี ศรีวรรณะ. (2555). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัย วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พหุนาม สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3(วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต วิจัยและประเมินผลการศึกษา) มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
มัณฑนา บุรัมย์. (2554). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและ
ร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต วิจัยและ
ประเมินผลการศึกษา). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วิยดา ซ่อนขำ. (2551). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง
จำนวนและการดำเนินการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ การศึกษา
มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). คู่มือวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์.
กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
________. สรุปผลการประเมิน PISA 2015 THAILAND. (สืบค้น 25 เมษายน 2560).
จาก http://pisathailand.ipst.ac.th/pisa/reports/pisa2015summaryreport.
สมนึก ภัททิยธนี. (2549). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). ประสานการพิมพ์.
สิริพร ทิพย์คง. (2545). หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).
สุรวาท ทองบุ. (2553). การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). อภิชาติการพิมพ์.
สุริยาพร อดุลย์พงศ์ไพศาล. (2552). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต วิจัยและ ประเมินผลการศึกษา). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อำพร จุลพล. (2550). การสร้างแบบทดสอบอัตนัยเพื่อวินิจฉัยการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
เรื่องระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์
ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา). ขอนแก่น:
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อุบลวรรณ อ่อนตะวัน. (2551). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยเรื่องสมการและการแก้สมการ ในกลุ่มสาระ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ถ่ายเอกสาร.
Adams, Georgia S. and Theodore L. Torgerson. (1964). Measurement and Education in Education on Psychology and Guidance. New York : Holt, Rinehart and Winston.
Ahmann, Stanley J. and Marin D. Glock. (1975). Evaluating Pupil Growth of Tests and
Measurement. 3 rd ed. New York : Allyn and Bacon.
Bloom, B. S, Thomas J. Hastings and George F. Madaus. (1971). Handbook on formative
and summative evaluation of student learning. New York : McGraw-Hill.
Singha, H.S. (1974). Modern Education Testing. New Delhi : Sterling.