การพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการในธุรกิจโรงแรมในจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นฝีมือแรงงานอาเซียน

Main Article Content

พิมพิลา คงขาว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับศักยภาพของผู้ให้บริการในธุรกิจโรงแรมในจังหวัดศรีสะเกษ และ 2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพของพนักงานในโรงแรมในจังหวัดศรีสะเกษให้มีความพร้อมสู่การเป็นฝีมือแรงงานอาเซียน โดยมีการเก็บข้อมูลแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 129 คน ประกอบด้วยพนักงานทั้งหมดของศรีพฤทธาลัยราชภัฏสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (การบริหารจัดการภาครัฐ) จำนวน 31 คน และพนักงานทั้งหมดของโรงแรมพรหมพิมาน (การบริหารจัดการภาคเอกชน) จำนวน 98 คน ใช้สถิติในการวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) โดยการหาค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage)


ผลการวิจัยพบว่า พนักงานของโรงแรมที่มีรูปแบบการบริหารจัดการทั้ง 2 ประเภท ประสบปัญหาหลักเหมือนกัน ได้แก่ 1. ปัญหาด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ จีน และเวียดนาม 2. ปัญหาการขาดการอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงาน และ 3. ปัญหาการขาดการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนบุคลากรอาเซียน จากผลการวิจัยนำไปสู่แนวทางที่จะสามารถพัฒนาศักยภาพของพนักงานโรงแรมในจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อเป็นฝีมือแรงงานอาเซียน ได้ดังนี้ 1. เพิ่มความรู้และทักษะด้านภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ  2. ให้เข้ารับการอบรม/สัมมนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานและอัพเดตข้อมูลข่าวสารต่างๆ ในสายงาน และ 3. มีการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนบุคลากรอาเซียนอย่างทั่วถึงเพื่อกระตุ้นให้ฝีมือแรงงานมีการพัฒนาตนเอง

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กรมการท่องเที่ยว. (2558) การวิเคราะห์ประเด็น ปัญหา และโอกาสจากการเปิดเสรีภาคบริการสาขาท่องเที่ยว, แผนพัฒนาบริการท่องเที่ยว เพื่อรองรับการเปิดเสรีบริการท่องเที่ยว ปี พ.ศ. 2555 – 2560. (ออนไลน์) 2559 (อ้างเมื่อ 14 มกราคม 2559). จาก http://www.tourismkm-asean.org/wp-content/pdf/Plan-Thailand-Tourism/Tourism_and_Travel_related_Service_Strategic_Plan_Thai.pdf
กรมการท่องเที่ยว. (2557) มาตรฐานการท่องเที่ยวไทย. (ออนไลน์) 2559 (อ้างเมื่อ 14 มกราคม 2559) จาก file:///C:/Users/qw/Downloads/1670.pdf
กรมการท่องเที่ยว. (2557). มาตรฐานการบริการอาหารเพื่อการท่องเที่ยว (Food Service Standard for Tourism). กรุงเทพฯ : มีเดีย เพรส.
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2558). รอบรู้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ASEAN Economic Community: AEC. นนทบุรี: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ.
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2558). FACT BOOK ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ASEAN Economic Community. นนทบุรี: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ.
จิรประภา อัครบวร. (2554). พัฒนาคนบนความยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เต๋า.
พัชราวลัย วงศ์บุญสิน. (2556). การเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพเข้าสู่ตลาดแรงงานตามมาตรฐานอาเซียน. กรุงเทพฯ : สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา.
พัฒนศักดิ์ ฮุ่นตระกูล. (2558). การพัฒนาธุรกิจ Hospitality ในภาคบริการท่องเที่ยว เพื่อก้าวสู่ตลาดอาเซียน AEC. (อ้างเมื่อ 14 มกราคม 2559) จาก WTO. General Agreement on Trade in Services, Part 1 – Scope and definition, Article 1 (2)
ยุพวรรณ นังคลาภิวัฒน์. (2557). การเตรียมความพร้อมแรงงานด้านการท่องเที่ยวของไทยเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. มหาวิทยาลัยศรีประทุม
วัฒนา ธรรมศิริ. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งชาติ.
วิทยาลัยดุสิตธานี. (2557). คุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรวิชาชีพ: ปัจจัยชี้ขาดความอยู่รอดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเมื่อมีการเปิดเสรีการค้าบริการของอาเซียน. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยดุสิตธานี
วิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะ. (2558). การพัฒนาและการปรับตัวของการท่องเที่ยวไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2558.