แนวทางพัฒนาแบรนด์ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 4.0 ในชุมชนบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพของการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนบางกอกใหญ่ 2)เสนอแนวทางการพัฒนาแบรนด์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 4.0 ของชุมชนบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 32 จากภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังเขตบางกอกใหญ่
ผลการศึกษาพบว่า 1) ชุมชนบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานครมีศักยภาพความพร้อมในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาแบรนด์ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 4.0 ของจุดหมายปลายทางเขตบางกอกใหญ่ 2) แนวทางการสร้างแบรนด์จุดหมายปลายทาง 4.0 ได้แก่ การสร้างส่วนประสมของจุดหมายปลายทาง การสร้างภาพลักษณ์และอัตลักษณ์ของแบรนด์จุดหมายปลายทางเพื่อสร้างแบรนด์จุดหมายปลายทางบางกอกใหญ่ 4.0 ซึ่งมีเนื้อหาของแบรนด์ 4 ประเภท 1)แบรนด์ด้านธรณีสัณฐานและธรรมชาติ 2)แบรนด์ด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 3) แบรนด์วิถีชีวิตพหุวัฒนธรรมและวิถีริมน้ำ 4)แบรนด์ท่องเที่ยวมิติจิตพุทธศาสนา
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2559, จาก http://www.tourism-asean.org.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558–2560. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2559, จาก http://www.mots.go.th.
เคลาส์ ชวาบ. (2559). การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่4. แปลโดย ศรรวริศา เมฆไพบูลย์. กรุงเทพฯ: Amarin HOW-TO.
ดอน แท็บสก็อต.(2559). เศรษฐกิจดิจิทัล. แปลโดย พรศักดิ์ อุรัจฉัทชัยรัตน์. กรุงเทพฯ:แมคกรอ-ฮิล.
ปิยะชาติ อิศรภักดี. (2559). BRANDING 4.0 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: Amarin HOW-To.
พยอม ธรรมบุตร. (2558). เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชา การจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์.กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พยอม ธรรมบุตร. (2559). เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชา การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยว.กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา.
พยอม ธรรมบุตร. (2560). เอกสารประกอบการเรียนการสอนเกี่ยวกับองค์ประกอบของการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: วิทยาลัย การจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา.
วิจารณ์ พานิช. (2553). มหาวิทยาลัยไทยต้องเปลี่ยนลุคส์ใหม่เพื่อสังคม สร้างจิตสำนึกใหม่การศึกษา. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2560, จาก https://www.isranews.org/thaireform/t
haireform-talk-interview/thaireform-talk-social/13483-2010-05-07-12-05-37.html.
สมบัติ กุสุมาวลี.(2558). เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์,กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุภางค์ จันทวานิช. (2558). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์.(2553).ชุมชนศึกษา.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Alastair Morrison.(2013). Marketing and Management Tourism Destination. Routledge. 711 Third Avenue,New York,NY10017