พฤติกรรมการตัดสินใจท่องเที่ยวและการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักท่องเที่ยวไทย

Main Article Content

อัจฌิรา ทิวะสิงห์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการตัดสินใจท่องเที่ยวและการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักท่องเที่ยวไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวไทย และศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับ      สื่อสังคมออนไลน์ต่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวไทย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้ คือ นักท่องเที่ยวชาวไทย ที่มีอายุตั้งแต่ 20-60 ปี ที่เคยเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย จํานวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยใช้การแจกแจงความถี่ (Frequencies distribution) คารอยละ (Percentage) คาเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard  deviation) 


ผลการวิเคราะห์คุณลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 278 คน   คิดเป็นร้อยละ 69.5 ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 21-30 ปี จำนวน 268 คน คิดเป็นร้อยละ 67.0 ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 285 คน คิดเป็นร้อยละ 71.3 นอกจากนี้ยังพบว่าส่วนใหญ่เป็นพนักงานเอกชน จำนวน 184 คน คิดเป็นร้อยละ 46.0


ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์ต่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวไทยทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเทคโนโลยี ด้านสังคม ด้านข้อมูลสารสนเทศ ด้านนักท่องเที่ยว และด้านสถานที่ท่องเที่ยวมีอิทธิพลต่อการท่องเที่ยวในภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 โดยด้านเทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อการท่องเที่ยวมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 ด้านสถานที่ท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 ด้านข้อมูลสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 ด้านสังคม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 และด้านนักท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 ตามลำดับ

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560. ค้นเมื่อวันที่ 1
ธันวาคม 2559, จาก http://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7114
กิติยา เด่นชัย. (2557). พฤติกรรมการใชและการรับรูขอมูลผานสื่อสังคมออนไลนที่มีผลต่อการ
ตัดสินใจเลือกแหลงทองเที่ยว และสถานที่พักของนักทองเที่ยวชาวไทยในเมืองพัทยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการทองเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
นฤมล เพิ่มชีวิต และ พัชนี เชยจรรยา. (2553). การแสวงหาข้อมูล การใช้ประโยชน์ และความเชื่อถือ
ในข้อมูลการท่องเที่ยวจากสื่อออนไลน์ที่ผู้บริโภคสร้างเองของคนวัยทำงาน. วารสารการประชาสัมพันธ์
และการโฆษณา. 3,(1): 99-121.
บุญชม ศรีสะอาด. การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วนประเมินค่า.
วารสารการวัดผลการศึกษา. 64-70. จาก https://edu.msu.ac.th/jem/home/journal_file/63.pdf
เปรมทิพย์ ชมพูคำ และ สุพาดา สิริกุตตา. (2559). พลังการบอกต่อออนไลน์ และปัจจัยอื่นๆ ที่มี
อิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวประเทศในกลุ่มอาเซียนของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ. 7,(2): 113-132.
วีรวรรณ แซ่จ๋าว. 2558. อิทธิพลของทัศนคติและความพึงพอใจในการเปิดรับข่าวสารจากสื่อ
ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตที่มีต่อพฤติกรรมการตัดสินใจวางแผนการท่องเที่ยว. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการทองเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ท่องเที่ยวทั่วไทย สร้างรายได้
ทั่วถึง. ค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2559, จาก www.jpp.moi.go.th/media/files/1_09_2558_2.docx
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว. ฉบับที่ 1
กรกฎาคม-กันยายน 2558. กรุงเทพฯ.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed). New York: John Wiley & Sons. อ้างใน ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
López, E. Parra et al. (2011). Intentions to use social media in organizing and taking
vacation trips. Computers in Human Behavior. 27,(2): 640-654.