การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพสำหรับครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27

Main Article Content

ธีรวุฒิ หอมอินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ของการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 3) เพื่อพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 การดำเนินการวิจัยมี              3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการนิเทศภายในโดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดการนิเทศภายในจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  โดยอาศัยการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จํานวน 15 คน และครูผู้สอน จำนวน 324 คน ใช้เทคนิคการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ระยะที่ 3 พัฒนาแนวทางการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 โดยอาศัยการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความจำเป็น PNI (Modified) 


              ผลการวิจัยพบว่า


              1.องค์ประกอบและตัวชี้วัดของการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก คือ 1) ด้านการวางแผน 2) การสังเกตการสอน 3) การวิเคราะห์ผลการสังเกตการสอน 4) การให้ข้อมูลย้อนกลับ สภาพปัจจุบันของการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชน            การเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก


  1. สภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

  2. ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาเห็นว่า แนวทางการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 มีระดับความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมระดับ มากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

Charoenthoy, G. (2010). A Development of Internal Supervision Guidelines by Coaching of Administrators under the Office of Phranakhon Si Ayutthaya Education Service Area 2. Master’s thesis. Phra Nakhon Si Ayutthaya: Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. [In Thai]
Chugumnerd, W. (2014). A Model of a Professional Learning Community of Teachers Toward 21st Century Learning of Schools in Thailand. Academic Services Journal, 25(1), 123-134, January-April. [In Thai]
Laisanitsereekul, M. (2014). Strategies to establish a professional learning community in schools of Benjaburapha Joint Campus in Bangkok. Online Journal of Education, 9(3), 392-406. [In Thai]
Loariandee, W. (2013). Teaching Methods for Professional Teacher. Nakhon Pathom: Silpakorn University Printing House. [In Thai]
Maneesri, C. (1999). Supervision. (4th ed.) Bangkok: Sophon Printing. [In Thai]
Martwiset, K. (2010). Development of Chaturaphukphimanratchadapisek’s Supervision Operation. Master’s thesis. Mahasarakham : Mahasarakham University. [In Thai]
Mitchell, C., & Sackney, L. (2001). Profound Improvement : Building Capacity for a Learning Community. Lisse: Swets & Zeitlinger. Office of the National Education Commission. (2545). Supervision in School. Bangkok: The Teachers’ Council of Thailand Ladprao.
Office of the Education Council. (2009). Education reform Suggestion in the 2nd decade. Bangkok: Prikwan Graphic Company Limited. [In Thai]
Panich, V. (2012). Way to Create Learning for student in 21st Century. Bangkok: Sodsri-Saridwongso Foundation. [In Thai]
Phonsombat, S. (2008). Development of Supervision’s System in Barnphudin School Pathumrat District Roi Et Province. Master’s thesis. Mahasarakham : Mahasarakham University. [In Thai]
Suwannawong, A. (2016). Character of Professional Learning Community in Thailand Educational. Panyapiwat Journal, 8(1), 163-175, January-April. [In Thai]
The Secondary Education Service Area Office 27. (2015). The Secondary Education Service Area Office 27 Strategic Plan 2015. Roi Et: The Secondary Education Service Area Office 27. [In Thai]
The Secretariat of the House of Representatives. (2002). Teacher professional development and Education reform. Bangkok: The Secretariat of the House of Representatives. [In Thai]