การประยุกต์ใช้โปรแกรม Apsheet พัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อใช้ในการสอนพลศึกษา เรื่องสัญลักษณ์ของผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บอล ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้โปรแกรม Apsheet พัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อใช้ในการสอนพลศึกษาเรื่องสัญลักษณ์ของผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บอล ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อใช้ในการสอนพลศึกษา เรื่องสัญลักษณ์ของผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บอล 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนโดยใช้แอปพลิเคชัน ของนักศึกษา ชั้นปีที่ 4 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 3) เพื่อศึกษาผลความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่ได้ศึกษาบทเรียนจากแอปพลิเคชัน เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แอปพลิเคชันเรื่องสัญลักษณ์ของผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บอล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินคุณภาพแอปพลิเคชัน แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าเฉลี่ย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือนักศึกษาพลศึกษาที่เรียนรายวิชาการเป็นผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสินและการเป็นเจ้าหน้าที่กีฬาวอลเลย์บอล โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 30 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลวิเคราะห์การประเมินคุณภาพแอปพลิเคชัน สำหรับใช้เป็นสื่อการสอนพลศึกษาเรื่องสัญลักษณ์ของผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บอล พบว่าการประเมินคุณภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.84) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58 2) ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 จากนักศึกษา พบว่า คะแนนแบบทดสอบหลังเรียน เฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 85.45 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ที่กำหนดไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาผลความพึงพอใจของนักศึกษาที่ได้ศึกษาบทเรียนจากแอปพลิเคชัน เรื่องสัญลักษณ์ผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บอล ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51) ความพึงพอใจมากที่สุดแอปพลิเคชันมีผลช่วยให้เกิดความน่าสนใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น ( = 4.95) รองลงมาคือด้านแอปพลิเคชันมีความสะดวกง่ายต่อการใช้งาน ( = 4.85) แอปพลิเคชั่นช่วยให้สะดวกเรียนรู้ที่ไหนก็ได้ ( = 4.75) เนื้อหามีความชัดเจน กระชับ เข้าใจง่าย ( = 4.59) และมีระดับความพึงพอใจระดับมาก ด้านรายละเอียดของบทเรียนมีความครบถ้วนอ่านแล้วเข้าใจง่าย ( = 4.48) ด้านการจัดวางเมนูมีความเหมาะสม ( = 4.45) ด้านสีตัวอักษรกับพื้นหลังมีความเหมาะสม ( = 4.43) ด้านรูปแบบของ แอปพลิเคชันมีความน่าสนใจ ( = 4.36) ด้านรูปภาพมีความน่าสนใจ ดูเข้าใจง่าย ( = 4.13) ด้านอักษรในแอปพลิเคชันมีความชัดเจน ( = 4.12) ตามลำดับ
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
Inthanoo P. (2555). The development of computer multimedia lessons subject mushroom cultivation in accordance with the vocational agricultural curriculum for grade 5 students. Bangkok: graduate school
Srinakharinwirot University. [In Thai]
Jinanong P. (2015). Multimedia development for learning about waistcloth hundred colors for Primary School grade 2. Thesis Educational Technology Program Silpakorn University, Nakhon Pathom. [In Thai]
NimTalung O. (2015). Application development use of English words and sentences and Thai language for communication for special education teachers. Sakonnakhon Rajabhat University. [In Thai]
Prakorbthum B. (2013). Acceptance of social networks of Student's: case study Bangkok University. Journal net review. [In Thai]
Rueangrong P. and Chirawongpong P. and Manyum W. & Sarunyoo W. & Srisurat C. (2014). Educational technology with Thai teachers in the 21st century. Journal of Panyapiwat 5 pages 195-205. [In Thai]
Saiyot L. and Saiyot A. (1995). Educational research techniques. 5th. edition, Bangkok: Suwiriyasasan. [In Thai]
Seriwiwatana W. (2012). Application development Mathematics Subject Square style for operating systems IOS on tablet devices Primary School grade 5. Thesis graduate student Kasetsart University. [In Thai]
Sookpaiboon N. and Weerapun N. (2016). Computer assisted Instruction Development Thailanguage subject for students Primary school grade 1. Journal of Research and Development Valaya Alongkorn under the Royal Patronage. Humanities and Social Sciences year 11 issue 2. Pages 259 – 267. [In Thai]
SiSaat B. (2000). Preliminary research. 6th edition, Bangkok: Suriyaasan. [In Thai]
Tiantong M. (2002). Design and development of courseware for computer assisted instruction. Bangkok: Textbook production center Kingmongkut's Institute of Technology North Bangkok. [In Thai]
Unararomlert T. (2006). Educational measurement and evaluation. Nakhonpathom: Faculty of education Silpakorn University. [In Thai]
Weerapun D. and Chanchalong C. (2018). The development of interactive learning media Basic English subject for Student Primary school grade 1. Journal of Research and Development Valaya Alongkorn under the Royal Patronage. Humanities and Social Sciences year 11 issue 2. Pages 92 – 102. [In Thai]