ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อความสำเร็จในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11

Main Article Content

ขวัญชนก เอียดด้วง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 2) ศึกษาระดับผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความสำเร็จกับผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูประจำชั้น และครูแนะแนว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 จำนวน 198 คน ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม นำมาวิเคราะห์หาความเชื่อมั่น โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา ตามแนววิธีของครอนบาค ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.877 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


         ผลการวิจัยพบว่า


  1. ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยที่สูงที่สุดคือ (1) ปัจจัยด้านครูประจำชั้น (2) ปัจจัยด้านครูแนะแนว และ (3) ปัจจัยด้านผู้อำนวยการสถานศึกษา

  2. ระดับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

  3. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความสำเร็จกับผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11โดยภาพรวมมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในระหว่างตัวแปรปัจจัย มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

Ministry of Education. (2008). A report on Study and Development of learning styles
according to basic education curriculums. Bangkok : Research and Learning
Quality Development Team. [in Thai]
Neamsawat J. (2014). The handbook of student support system under the secondary
education service area 13 Trang Province. The secondary education service area 13. [in Thai]
Dechwichit J. (2011). The management of the student care and support system in
schools under Prachinburi Province. . (Master of Education thesis).
Valaya Alongkorn Rajabhat University. [in Thai]
Prempusittanonth P. (2009). Factors related on the implementation of student assistant
system in school under the office of Sakaeo Educational Service Area.
(Master of Education thesis). Burapa University. [in Thai]
Dockajorn S. (2019). The operational development of students care system in Baan
Donnoi School. (Master of Education thesis). Mahasarakam University. [in Thai]Office of the Basic Education Commission. (2009). Developing a strong student
support system: The executive training course. Bangkok :
Ministry of Education. [in Thai]
Sedsikang S. (2011). Factors Corresponding to the implementation of the Students
Assistance System in Schools under Kalasin Educational Service Area
Office 2. (Master of Education thesis). Mahasarakam University. [in Thai]
Chayangkanont A. (2012). Factors affecting job satisfaction of teachers
in responsible of student support system for basic education institutions
under Chantaburi Primary Educatinal Service Area Office.
(Master of Education thesis). Rambhai Barni University. [in Thai]